วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2552

๒๘ ธันวาคม วันปราบดาภิเษก

๒๘ ธันวาคม วันปราบดาภิเษก ถวายบังคมสักการะเทอญพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
นับตั้งแต่สมเด็จพระเจ้าตากสิน ทรงเสด็จขึ้นเสวยราชย์ พระองค์ทรงตรากตรำกรำศึกสงครามเกือบตลอดรัชกาล ถึงแม้ว่าพระองค์จะทรงกอบกู้เอกราชของชาติไทยกลับคืน อันเป็นพระราชภารกิจหลักได้แล้วก็ตาม พระองค์ยังต้องทรงต่อสู้กับการแก้ไขปัญหาความยากจนข้นแค้น ซึ่งเบียดเบียนประชาราษฏร์ของพระองค์ด้วยความอดทน ถึงกับทรงเปล่งสัจจะวาจาด้วยน้ำพระหฤทัยเด็ดเดี่ยว ว่า
“มาดแม้นว่า มีเทพยดาองค์ใดสามารถดลบันดาลให้มีพืชพันธุ์ธัญญาหาร แก่พสกนิกรของพระองค์อย่างอุดมสมบูรณ์เห็นทันแก่พระเนตรแล้ว แม้จะต้องการเครื่องบวงสรวง ด้วยการตัดพระกรของพระองค์เป็นเครื่องสักการะ ก็จะทรงตัดถวายให้โดยพลัน”พระราชดำรัสนี้ แสดงให้เห็นถึงความเมตตารักใคร่ในพระองค์ที่มีต่อปวงพสกนิกรอย่างล้นเปี่ยม !
สมเด็จพระเจ้าตากสิน พระผู้ทรงคุณแก่ประเทศชาติไทยอย่างใหญ่หลวง พระผู้ทรงนำแผ่นดินไทย คนไทย กลับมามีเอกราชและยิ่งใหญ่อีกครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของชาติไทยเหล่าข้าราชบริพาร และประชาราษฏร์ผู้รู้สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ จึงเทิดทูนยกย่องถวายพระเกียรติของพระองค์ท่านว่า “ มหาราช” สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระผู้ทรงเป็นมหาวีรบุรุษของชาติไทย ตราบจนเท่าทุกวันนี้ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ คณะรัฐบาลไทยในสมัย ฯพณฯ จอมพล แปลก พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยข้าราชการ พ่อค้า และประชาชนทุกหมู่เหล่าได้พร้อมใจกันสร้างอนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ประดิษฐานอยู่ ณ วงเวียนใหญ่ กรุงธนบุรี เมื่อวันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๔๙ ตัวอนุสาวรีย์สูง ๘.๕๙ เมตร กว้าง ๑.๘ เมตร ยาว ๓.๕๐ น. ด้วยรูปหล่อทองสัมฤทธ์บรมรูปทรงม้า ทรงพระมาลา ยกกรข้างขวาชูดาบ พร้อมที่จะเผชิญกับข้าศึกอย่างฉับพลัน เพื่อน้อมรำลึกถึงในพระเกียรติประวัติ เกียรติยศ เกียรติคุณ ให้ทรงปรากฏกับอนุชนรุ่นหลังสืบต่อมา โดยถือกำหนดเอาวันที่ ๒๘ ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันถวายบังคมราชสักการะคล้าย “วันปราบดาภิเษก” เสด็จขึ้นเสวยราชย์ฯ
ดังนั้น ในวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๗ จึงกำหนดรัฐพิธีเป็นทางการ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ภูมิพลอดุลยเดชฯ (สมเด็จพระภัทรมหาราช) ทรงเสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่ง จากรพะที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ไปยังพระราชนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เวลา ๑๗ นาฬิกา ๓๐ นาที ทรงวางพวงมาลา แล้วทรงจุดธูปเทียนถวายเครื่องราชสักการะต่อองค์อนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระผู้ทรงมีคุณาคุณแก่ประเทศชาติไทยอย่างใหญ่หลวง สืบเนื่องมาจนตราบเท่าปัจจุบัน
ณ ใต้แท่นฐานอนุสาวรีย์พระบรมราชานุสาวรีย์ฯ มีข้อความจารึกปรากฏว่า
“ ... อนุสาวรีย์นี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์เฉลิมพระบรมราชกฤดาภินิหารแห่งสมเด็จพระเจาตากสินมหาราชพระองค์ผู้เป็นมหาวีรบุรุษของชาติประสูติ พ.ศ. ๒๒๗๗ สวรรคต พ.ศ. ๒๓๒๕รัฐบาลไทยพร้อมด้วยพระชาชนชาวไทยได้ร่วมสร้างขึ้นประดิษฐานไว้เมื่อวันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๗เพื่อเตือนใจให้ประชาชนชาวไทยรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่ได้ทรงเพียรทรงพยายามปราบอริราชศัตรู กอบกู้เอกราชของชาติไทยให้กลับคืนดำรงอิสรภาพสืบมา ...”
ความเข้าใจ “วันปราบดาภิเษก”๑) วันพุธ แรม ๔ ค่ำ เดือนอ้าย ปีกุล นพศก จ.ศ. ๑๑๒๙ ตรงกับวันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๓๑๐๒) วันพุธ แรม ๔ ค่ำ เดือนอ้าย ปีชวด สัมฤทธิ์ศก จ.ศ. ๑๑๓๐ ตรงกับวันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๓๑๑๓) วันพุธ แรม ๔ ค่ำ เดือนอ้าย ปีชวด สัมฤทธิ์ศก จ.ศ. ๑๑๓๐ ตรงกับวันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๓๑๑ความเข้าใจส่วนใหญ่ (๘ ใน ๑๐) ชี้ชัดว่า เป็นวันพุธ แรม ๔ ค่ำ เดือนอ้าย ปีชวด สัมฤทธิ์ศก จุลศักราช ๑๑๓๐ ตามข้อมูลลำดับที่ ๒ แต่หลังจากมีการลำดับเหตุการณ์ความเป็นไปในพงศาวดาร ได้มีผู้ค้นคว้าแสดงความเห็นแตกต่างกันว่า ควรจะเป็น ปี จ.ศ. ๑๑๒๙ (พ.ศ. ๒๓๑๐) มากกว่าปี จ.ศ. ๑๑๓๐ (พ.ศ. ๒๓๑๑) ด้วยเหตุผลดังนี้๑) กรุงศรีอยุธยาฯ สิ้นราชธานี เมื่อเดือน ๕ ปีกุน นพศก จ.ศ. ๑๑๒๙ พระองค์ทรงกอบกู้เอกราชคืนได้ ในเวลาเพียง ๗ เดือน คือ เมื่อเดือน ๑๒ (วันศุกร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีกุน นพศก จุลศักราช ๑๑๒๙ ตรงกับวันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๓๑๐) และอีกหนึ่งเศาต่อมา พระองค์ทรงปราบดาภิเษกขึ้น เป็นพระมหากษัตริย์ เมื่อวันพุธ แรม ๔ ค่ำ เดือนอ้าย ปีกุน (ไม่ใช่ปีชวด เพราะว่าเดือนอ้าย ยังคงอยู่ในรอบปีนักษัตรของปีกุน) นพศก (ไม่ใช่สัมฤทธิศก เพราะยังอยู่ในปีเดิม) จ.ศ. ๑๑๒๙ (ไม่ใช่ จ.ศ. ๑๑๓๐ เพราะรอบเวลาของปีนักษัตร ยังคงเป็นปีกุน) ฉะนั้น ยังคงเป็นศกเดิม ๑๑๒๙ ไม่ใช่ศกใหม่ จ.ศ. ๑๑๓๐) ดังนั้น วันเดือนปีทางจันทรคติ จึงควรอ่านได้ว่า วันปราบดาภิเษก คือ วันพุธ แรม ๔ ค่ำ เดือนอ้าย ปีกุน นพศก จุลศักราช ๑๑๒๙ ไม่ใช่ วันพุธ แรม ๔ ค่ำ เดือนอ้าย ปีชวด สัมฤทธิ์ศก จ.ศ. ๑๑๓๐ เช่นเดียวกัน วันเดือนปีทางสุริยคติ จุงสมควรอ่านได้ว่า วันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๑๐ (ไม่ใช่ปี พ.ศ. ๒๓๑๑)๒) ความเห็นในมุมกลับกัน หากวันปราบดาภิเษกเป็น วันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๑๑ (จ.ศ. ๑๑๓๐) ก็เท่ากับว่า วันเดือนปีขัดแย้งกับเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์อย่างสิ้นเชิง กล่าวคือ จากหนังสือของบรมครู มักกล่าวไว้ว่า หลังจากพระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว ยังต้องทรงใช้ระยะเวลาหนึ่งในการต่อสู้แก้ไขปัญหาปากท้อง ความยากจนข้นแค้น บรรเทาทุกข์ บำรุงสุข รักษาขวัญกำลังใจ ให้แก่ราษฏร์ของพระองค์ เนื่องจากบ้านเมืองได้รับการเผาผลาญเสียหายแทบไม่มีชิ้นดี ในขณะเดียวกันต้องทรงตระเตรียมเสบียงอาหารจัดกองทัพช้าง และม้า เพื่อไปปราบเจ้าชุมนุมต่างๆ ที่แข็งข้ออยู่ในขณะนั้น ฉะนั้น หากพระองค์เถลิงราชย์ เมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม ปี พ.ศ. ๒๓๑๑ ก็หมายความว่า พระองค์ทรงเหลือเวลาเพียง ๓ วัน ก็จะขึ้นศกใหม่ เป็นปี พ.ศ. ๒๓๑๒ และเวลาเพียง ๓ วัน คงจะไม่เอื้อำนวยให้พระองค์ทรงกระทำในเหตุการร์ต่างๆ ตามที่ได้กล่าวมา และประการสำคัญ เหตุการณ์เหล่านี้ เกิดขึ้นในปี พ.ศ. ๒๓๑๐ คาบเกี่ยวกับปี พ.ศ. ๒๓๑๑ (ไม่ใช่ปี พ.ศ. ๒๓๑๑ คบเกี่ยวกับปี พ.ศ. ๒๓๑๒)๓) มีหนังสืออยู่เล่มหนึ่ง ชื่อ “ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช” เขียนโดย ท่านพลตรี จรรยา ประชิตโรมรัน ท่านระบุชี้ชัด ในที่หน้า ๕๘-๖๒ ว่า “ ... เป็นปี พ.ศ. ๒๓๑๐ ขึ้นครองราชย์ ... ตรงกับพงศาวดารพม่า กล่าวไว้ว่า พระเจ้ากรุงอังวะ เมื่อพม่าได้โปรดให้แมงกี้มานหญ่า (พระยาทวาย) เกณฑ์กำลังพลเข้ามาทางไทรโยค ในช่วงฤดูแล้ง ปลายปี พ.ศ. ๒๓๑๐ ครั้นมาถึงบ้านบางกุ้ง เห็นค่ายทหารจีนของพระยาตากสิน จึงสั่งให้กำลังพลของตนเข้าไปโอบล้อมไว้ ...”
อาศัยเหตุดังกล่าวมา “ วันปราบดาภิเษก” ควรจะเป็นวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๑๐
ประโยชน์มวลกุศลทุกประการ อันจะก่อเกิดพึงมีจากสาระนี้ ขอน้อมถวายเป็นพระกุศลเจริญญาณพระบารมี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ตลอดจนพระมหากษัตริยาธิราชเจ้า ผู้เอกอัครพุทธศาสนูปภัมภกทุก ๆ พระองค์ น้อมบูชาพระโบราณจารย์ ผู้บริหารพระพุทธศาสนา จนถึงปัจจุบันสมัย และยังผลสู่ลูกหลานบริวารทุกๆ ดวงจิต ทุกๆ ดวงวิญญาณ ในพระองค์ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช