วันอังคารที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2552

คำกลอนสอนธรรม หลวงปู่เปลื้อง ปัญญวันโต


ธรรมะเป็นของจริง สำหรับผู้ไม่ประมาท

โดย หลวงปู่เปลื้อง ปัญญวันโต

ธรรมะเป็นของจริง ปฏิบัติจริง ได้ผลจริง

ธรรมทั้งหลาย จำได้ง่าย รู้ได้ยาก

เหมือนครกสาก ไม่รู้รส บดอาหาร

รสของเกลือ ผู้ที่เชื่อ ต้องรับประทาน

รสมันหวาน รู้ด้วยใจ ภายในตน

ยังไม่รู้รส ธรรมทั้งหมด มองไม่เห็น

ไม่บำเพ็ญ จิตไม่คลาย ไม่ได้ผล

รู้ตามปริยัติ ไม่ปฏิบัติ ฝึกหัดตน

ไม่อดทน ไม่เป็นพระ ไม่ชนะมาร

จิตเป็นพระ ต้องชนะ กามฉันท์

เครื่องผูกพัน อยู่ใน วัฏสงสาร

ตัวมิจฉา ความเห็นผิด จิตเป็นพาล

เพราะเกียจคร้าน ไม่บำเพ็ญ ไม่เห็นธรรม

จิตเห็นธรรม ก็เห็น พระตถาคต

จิตรู้รส จิตปลดเปลื้อง เป็นเรื่องขำ

แรงสัจจะ แรงทมะ ชนะกรรม (คือชนะกาม)

ผู้ปฏิบัติธรรม มั่นอดทน ได้ผลจริง

จิตเห็นกาย ในกาย คลายกำหนัด

ผู้ปฏิบัติ จะรู้ได้ ทั้งชายหญิง

เห็นวัตถุ ภายนอกกาย กลายเป็นลิง

เจอะของจริง ตามพุทธพจน์ หมดกังวล

เป็นบุญเลิศ ผู้มาเกิด เป็นมนุษย์

เป็นชาวพุทธ จิตศรัทธา สถาผล

น้อมธรรมะ มาปฏิบัติ ฝึกหัดตน

ทุกทุกคน รู้ได้ชัด ปัจจัตตัง

ผู้ประมาท ต้องเป็นทาส อยู่ในโลก

แม้มีโชค ไม่ทำดี ไม่มีหวัง

ธรรมทั้งหลาย พระตรัสไว้ ไม่ปิดบัง

หมดรักชัง รู้ด้วยตน ทุกคนเอย

คำกลอน หลวงปู่เปลื้อง ปัญญวันโต



ธรรมะเป็นของจริง สำหรับผู้ไม่ประมาท


โดย หลวงปู่เปลื้อง ปัญญวันโต


ธรรมะเป็นของจริง ปฏิบัติจริง ได้ผลจริง


ธรรมทั้งหลาย จำได้ง่าย รู้ได้ยาก


เหมือนครกสาก ไม่รู้รส บดอาหาร


รสของเกลือ ผู้ที่เชื่อ ต้องรับประทาน


รสมันหวาน รู้ด้วยใจ ภายในตน


ยังไม่รู้รส ธรรมทั้งหมด มองไม่เห็น


ไม่บำเพ็ญ จิตไม่คลาย ไม่ได้ผล


รู้ตามปริยัติ ไม่ปฏิบัติ ฝึกหัดตน


ไม่อดทน ไม่เป็นพระ ไม่ชนะมาร


จิตเป็นพระ ต้องชนะ กามฉันท์


เครื่องผูกพัน อยู่ใน วัฏสงสาร


ตัวมิจฉา ความเห็นผิด จิตเป็นพาล


เพราะเกียจคร้าน ไม่บำเพ็ญ ไม่เห็นธรรมจิต


เห็นธรรม ก็เห็น พระตถาคต


จิตรู้รส จิตปลดเปลื้อง เป็นเรื่องขำ


แรงสัจจะ แรงทมะ ชนะกรรม (คือชนะกาม)


ผู้ปฏิบัติธรรม มั่นอดทน ได้ผลจริง


จิตเห็นกาย ในกาย คลายกำหนัด


ผู้ปฏิบัติ จะรู้ได้ ทั้งชายหญิง


เห็นวัตถุ ภายนอกกาย กลายเป็นลิง


เจอะของจริง ตามพุทธพจน์ หมดกังวล


เป็นบุญเลิศ ผู้มาเกิด เป็นมนุษย์


เป็นชาวพุทธ จิตศรัทธา สถาผล


น้อมธรรมะ มาปฏิบัติ ฝึกหัดตน


ทุกทุกคน รู้ได้ชัด ปัจจัตตัง


ผู้ประมาท ต้องเป็นทาส อยู่ในโลก


แม้มีโชค ไม่ทำดี ไม่มีหวังธรรม


ทั้งหลาย พระตรัสไว้ ไม่ปิดบัง


หมดรักชัง รู้ด้วยตน ทุกคนเอย

ชาติหน้ามีจิงหรือ..........‏

ชาติหน้ามีจริงหรือ ?...

" จะต้องให้รู้ด้วยตนเอง ธรรมะที่แท้จริงเหมือนรสของแอ๊ปเปิ้ล เรื่องรสของแอ๊ปเปิ้ล เราฟังดูเฉยๆก็ไม่รู้ จะไม่รู้ว่ามันหวานหรือมันเปรี้ยวอย่างไร? นอกจากเราลองชิมแอ๊ปเปิ้ลนั้นแล้ว นั่นแหละ... จึงจะรู้แจ้งว่า รสของมันเป็นอย่างไร? อร่อยไหม? ไม่ต้องไปถามใครอีกแล้ว ปัญหามันจบที่ตรงนั้นเอง
"ครั้งหนึ่งมีคนกลุ่มหนึ่งมาถามปัญหาท่านอาจารย์ชา (หลวงพ่อชา วัดหนองป่าพง อุบลราชธานี) เรื่องชาติหน้าภพหน้า เขาสงสัยว่า คนตายแล้วเกิดหรือไม่?ผู้ถาม : หลวงพ่อครับ ชาติหน้ามีจริงไหม?ท่านอาจารย์ชา : ถ้าบอกจะเชื่อไหมล่ะ?ผู้ถาม : เชื่อท่านอาจารย์ชา : ถ้าเชื่อ......คุณก็โง่ผู้ถาม : คนตายแล้วเกิดไหม?ท่านอาจารย์ชา : จะเชื่อไหมล่ะ? ถ้าเชื่อ......คุณโง่หรือฉลาด?
แล้วท่านจึงสอนต่อไปว่าหลายคนมาถามอาตมาเรื่องนี้ อาตมาก็ถามเขาอย่างนี้เหมือนกันว่า ถ้าบอกแล้วคุณจะเชื่อไหม? ถ้าเชื่อคุณก็โง่ เพราะอะไร ก็เพราะมันไม่มีหลักฐาน-พยานอะไรที่จะหยิบมาให้ดูได้ ที่คุณเชื่อเพราะคุณเชื่อตามเขา คนเขาว่าอย่างไร คุณก็เชื่ออย่างนั้น คุณไม่รู้ชัดด้วยปัญญาของคุณเอง คุณก็โง่อยู่ร่ำไป ที่นี้ถ้าอาตมาตอบว่า คนตายแล้วเกิดหรือว่าชาติหน้ามี อันนี้คุณต้องถามต่อไปอีกว่า ถ้ามี พาผมไปดูหน่อยได้ไหม? เรื่องมันเป็นอย่างนี้ มันหาที่จบลงไม่ได้ เป็นเหตุให้ทะเลาะทุ่มเถียงกันไปไม่มีที่สิ้นสุด
ที่นี้ ถ้าคุณถามว่าชาติหน้ามีไหม? อาตมาก็ถามว่า พรุ่งนี้มีไหม? ถ้ามีพาไปดูได้ไหม? อย่างนี้คุณก็พาไปดูไม่ได้ ถึงแม้ว่าพรุ่งนี้จะมีอยู่ แต่ก็พาไปดูไม่ได้ อย่างนี้เป็นต้น ถ้าวันนี้มี พรุ่งนี้ก็ต้องมี แต่สิ่งนี้เป็นของที่จะหยิบยกเอามาเป็น วัตถุตัวตนให้เห็นไม่ได้
ความจริงแล้ว พระพุทธองค์ท่านไม่ให้เราตามไปดูถึงขนาดนั้น ไม่ต้องสงสัยว่าชาติหน้ามีหรือไม่มี ไม่ต้องไปถามว่า คนตายแล้วจะเกิดหรือไม่เกิด อันนั้นมันไม่ใช่ปัญหา มันไม่ใช่หน้าที่ของเรา หน้าที่ของเราคือ เราจะต้องรู้จัก เรื่องราวของตัวเองในปัจจุบัน เราต้องรู้ว่า เรามีทุกข์ไหม? ถ้าทุกข์ มันทุกข์เพราะอะไร? นี้คือสิ่งที่เราจะต้องรู้ และเป็นหน้าที่โดยตรงที่เราจะต้องรู้ด้วย
พระพุทธเจ้าท่านสอนให้เราถือเอาปัจจุบันเป็นเหตุของทุกอย่าง เพราะว่าปัจจุบันเป็นเหตุของอนาคต คือถ้าวันนี้ผ่านไป วันพรุ่งนี้มันก็กลายมาเป็นวันนี้ นี่เรียกว่าอนาคตคือพรุ่งนี้ มันจะมีได้ก็เพราะวันนี้เป็นเหตุ ทีนี้อดีตก็เป็นไปจากปัจจุบัน หมายความว่า ถ้าวันนี้ผ่านไป มันก็กลายเป็นเมื่อวาน นี้เสียแล้ว นี่คือเหตุที่มันเกี่ยวเนื่องกันอยู่ ฉะนั้น พระพุทธเจ้าท่านจึงสอนให้เราพิจารณาเหตุทั้งหลายในปัจจุบัน เท่านี้ก็พอแล้ว ถ้าปัจจุบันเราสร้างเหตุไว้ดี อนาคตมันก็จะดีด้วย อดีตคือวันนี้ที่ผ่านไป มันย่อมดีด้วย และที่สำคัญที่สุดคือ ถ้าเราหมดทุกข์ได้ในปัจจุบันนี้แล้ว อนาคตคือชาติหน้าก็ไม่จำเป็นที่จะต้องพูดถึง
คนหนึ่งพูดว่า : กลัวว่าชาติหน้าจะไม่ได้เกิดท่านอาจารย์ชา : นั่นแหละยิ่งดี กลัวมันจะเกิดเสียด้วยซ้ำไปในครั้งพุทธกาล สมัยที่พระพุทธเจ้ายังคงมีชีวิตอยู่ มีพราหม์คนหนึ่งมีความสงสัยว่า คนตายแล้วไปไหน? คนตายแล้วเกิดหรือไม่? ถ้าพระองค์ตอบได้ก็จะมาบวชด้วย แต่ถ้าตอบไม่ได้หรือไม่ตอบ แกก็จะไม่บวช แกว่าของแกอย่างนั้น พระพุทธเจ้าจึงตอบว่า มันเป็นเรื่องอะไรของฉันเล่า พราหม์จะบวชหรือไม่บวช นั่นเป็นเรื่องของพราหม์ ไม่ใช่เรื่องของฉัน พระองค์ตรัสว่า ถ้าตราบใดที่พราหม์ยังมีความเห็นว่า มีคนเกิดหรือมีคนตาย คนตายแล้วเกิดหรือคนตายแล้วไม่เกิด ถ้าพราหม์ยังมีความเห็นอยู่อย่างนี้ พราหม์ก็จะเป็นทุกข์ทรมานอยู่อีกหลายกัลป์ ทางที่ถูกนั้น พราหม์จะต้องถอนลูกศรออกเสียบัดนี้
พระพุทธเจ้าท่านว่า ความจริงแล้วไม่มีใครเกิด ไม่มีใครตาย พราหม์คนนั้นฟังไม่รู้เรื่อง และจนกว่าแกจะได้เรียนรู้เรื่อง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ให้เข้าใจถ่องแท้เสียแล้วนั่นแหละ จึงจะเข้าใจคำพูดของพระองค์ได้ นั่นจึงจะเรียกว่า การรู้เห็นตามความเป็นจริงด้วยปัญญา เป็นการเชื่อด้วยปัญญา พระพุทธเจ้าสอนอย่างนี้ ไม่ได้สอนว่า ให้เชื่อว่าคนตายแล้วเกิดหรือไม่เกิด ชาติหน้ามีหรือไม่มี อย่างนั่นไม่ใช่เรื่องเชื่อหรือไม่เชื่อ จะถือเอาเป็นประมาณไม่ได้ จะถือเอาเป็นหลักเกณฑ์ไม่ได้
ดังนั้น ที่คุณถามว่า ชาติหน้ามีไหมนั้น อาตมาจึงถามคุณว่า ถ้าบอกแล้วคุณจะเชื่อไหม? ถ้าเชื่อ โง่หรือฉลาด? อย่างนี้เข้าใจไหม? ให้เอาไปคิดดูเป็นการบ้านนะ
ที่มา... องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก: พ.ส.ล
ขอบคุณธรรมจักรดอทเนต

วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2552

๒๘ ธันวาคม วันปราบดาภิเษก

๒๘ ธันวาคม วันปราบดาภิเษก ถวายบังคมสักการะเทอญพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
นับตั้งแต่สมเด็จพระเจ้าตากสิน ทรงเสด็จขึ้นเสวยราชย์ พระองค์ทรงตรากตรำกรำศึกสงครามเกือบตลอดรัชกาล ถึงแม้ว่าพระองค์จะทรงกอบกู้เอกราชของชาติไทยกลับคืน อันเป็นพระราชภารกิจหลักได้แล้วก็ตาม พระองค์ยังต้องทรงต่อสู้กับการแก้ไขปัญหาความยากจนข้นแค้น ซึ่งเบียดเบียนประชาราษฏร์ของพระองค์ด้วยความอดทน ถึงกับทรงเปล่งสัจจะวาจาด้วยน้ำพระหฤทัยเด็ดเดี่ยว ว่า
“มาดแม้นว่า มีเทพยดาองค์ใดสามารถดลบันดาลให้มีพืชพันธุ์ธัญญาหาร แก่พสกนิกรของพระองค์อย่างอุดมสมบูรณ์เห็นทันแก่พระเนตรแล้ว แม้จะต้องการเครื่องบวงสรวง ด้วยการตัดพระกรของพระองค์เป็นเครื่องสักการะ ก็จะทรงตัดถวายให้โดยพลัน”พระราชดำรัสนี้ แสดงให้เห็นถึงความเมตตารักใคร่ในพระองค์ที่มีต่อปวงพสกนิกรอย่างล้นเปี่ยม !
สมเด็จพระเจ้าตากสิน พระผู้ทรงคุณแก่ประเทศชาติไทยอย่างใหญ่หลวง พระผู้ทรงนำแผ่นดินไทย คนไทย กลับมามีเอกราชและยิ่งใหญ่อีกครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของชาติไทยเหล่าข้าราชบริพาร และประชาราษฏร์ผู้รู้สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ จึงเทิดทูนยกย่องถวายพระเกียรติของพระองค์ท่านว่า “ มหาราช” สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระผู้ทรงเป็นมหาวีรบุรุษของชาติไทย ตราบจนเท่าทุกวันนี้ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ คณะรัฐบาลไทยในสมัย ฯพณฯ จอมพล แปลก พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยข้าราชการ พ่อค้า และประชาชนทุกหมู่เหล่าได้พร้อมใจกันสร้างอนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ประดิษฐานอยู่ ณ วงเวียนใหญ่ กรุงธนบุรี เมื่อวันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๔๙ ตัวอนุสาวรีย์สูง ๘.๕๙ เมตร กว้าง ๑.๘ เมตร ยาว ๓.๕๐ น. ด้วยรูปหล่อทองสัมฤทธ์บรมรูปทรงม้า ทรงพระมาลา ยกกรข้างขวาชูดาบ พร้อมที่จะเผชิญกับข้าศึกอย่างฉับพลัน เพื่อน้อมรำลึกถึงในพระเกียรติประวัติ เกียรติยศ เกียรติคุณ ให้ทรงปรากฏกับอนุชนรุ่นหลังสืบต่อมา โดยถือกำหนดเอาวันที่ ๒๘ ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันถวายบังคมราชสักการะคล้าย “วันปราบดาภิเษก” เสด็จขึ้นเสวยราชย์ฯ
ดังนั้น ในวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๗ จึงกำหนดรัฐพิธีเป็นทางการ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ภูมิพลอดุลยเดชฯ (สมเด็จพระภัทรมหาราช) ทรงเสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่ง จากรพะที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ไปยังพระราชนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เวลา ๑๗ นาฬิกา ๓๐ นาที ทรงวางพวงมาลา แล้วทรงจุดธูปเทียนถวายเครื่องราชสักการะต่อองค์อนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระผู้ทรงมีคุณาคุณแก่ประเทศชาติไทยอย่างใหญ่หลวง สืบเนื่องมาจนตราบเท่าปัจจุบัน
ณ ใต้แท่นฐานอนุสาวรีย์พระบรมราชานุสาวรีย์ฯ มีข้อความจารึกปรากฏว่า
“ ... อนุสาวรีย์นี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์เฉลิมพระบรมราชกฤดาภินิหารแห่งสมเด็จพระเจาตากสินมหาราชพระองค์ผู้เป็นมหาวีรบุรุษของชาติประสูติ พ.ศ. ๒๒๗๗ สวรรคต พ.ศ. ๒๓๒๕รัฐบาลไทยพร้อมด้วยพระชาชนชาวไทยได้ร่วมสร้างขึ้นประดิษฐานไว้เมื่อวันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๗เพื่อเตือนใจให้ประชาชนชาวไทยรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่ได้ทรงเพียรทรงพยายามปราบอริราชศัตรู กอบกู้เอกราชของชาติไทยให้กลับคืนดำรงอิสรภาพสืบมา ...”
ความเข้าใจ “วันปราบดาภิเษก”๑) วันพุธ แรม ๔ ค่ำ เดือนอ้าย ปีกุล นพศก จ.ศ. ๑๑๒๙ ตรงกับวันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๓๑๐๒) วันพุธ แรม ๔ ค่ำ เดือนอ้าย ปีชวด สัมฤทธิ์ศก จ.ศ. ๑๑๓๐ ตรงกับวันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๓๑๑๓) วันพุธ แรม ๔ ค่ำ เดือนอ้าย ปีชวด สัมฤทธิ์ศก จ.ศ. ๑๑๓๐ ตรงกับวันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๓๑๑ความเข้าใจส่วนใหญ่ (๘ ใน ๑๐) ชี้ชัดว่า เป็นวันพุธ แรม ๔ ค่ำ เดือนอ้าย ปีชวด สัมฤทธิ์ศก จุลศักราช ๑๑๓๐ ตามข้อมูลลำดับที่ ๒ แต่หลังจากมีการลำดับเหตุการณ์ความเป็นไปในพงศาวดาร ได้มีผู้ค้นคว้าแสดงความเห็นแตกต่างกันว่า ควรจะเป็น ปี จ.ศ. ๑๑๒๙ (พ.ศ. ๒๓๑๐) มากกว่าปี จ.ศ. ๑๑๓๐ (พ.ศ. ๒๓๑๑) ด้วยเหตุผลดังนี้๑) กรุงศรีอยุธยาฯ สิ้นราชธานี เมื่อเดือน ๕ ปีกุน นพศก จ.ศ. ๑๑๒๙ พระองค์ทรงกอบกู้เอกราชคืนได้ ในเวลาเพียง ๗ เดือน คือ เมื่อเดือน ๑๒ (วันศุกร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีกุน นพศก จุลศักราช ๑๑๒๙ ตรงกับวันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๓๑๐) และอีกหนึ่งเศาต่อมา พระองค์ทรงปราบดาภิเษกขึ้น เป็นพระมหากษัตริย์ เมื่อวันพุธ แรม ๔ ค่ำ เดือนอ้าย ปีกุน (ไม่ใช่ปีชวด เพราะว่าเดือนอ้าย ยังคงอยู่ในรอบปีนักษัตรของปีกุน) นพศก (ไม่ใช่สัมฤทธิศก เพราะยังอยู่ในปีเดิม) จ.ศ. ๑๑๒๙ (ไม่ใช่ จ.ศ. ๑๑๓๐ เพราะรอบเวลาของปีนักษัตร ยังคงเป็นปีกุน) ฉะนั้น ยังคงเป็นศกเดิม ๑๑๒๙ ไม่ใช่ศกใหม่ จ.ศ. ๑๑๓๐) ดังนั้น วันเดือนปีทางจันทรคติ จึงควรอ่านได้ว่า วันปราบดาภิเษก คือ วันพุธ แรม ๔ ค่ำ เดือนอ้าย ปีกุน นพศก จุลศักราช ๑๑๒๙ ไม่ใช่ วันพุธ แรม ๔ ค่ำ เดือนอ้าย ปีชวด สัมฤทธิ์ศก จ.ศ. ๑๑๓๐ เช่นเดียวกัน วันเดือนปีทางสุริยคติ จุงสมควรอ่านได้ว่า วันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๑๐ (ไม่ใช่ปี พ.ศ. ๒๓๑๑)๒) ความเห็นในมุมกลับกัน หากวันปราบดาภิเษกเป็น วันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๑๑ (จ.ศ. ๑๑๓๐) ก็เท่ากับว่า วันเดือนปีขัดแย้งกับเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์อย่างสิ้นเชิง กล่าวคือ จากหนังสือของบรมครู มักกล่าวไว้ว่า หลังจากพระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว ยังต้องทรงใช้ระยะเวลาหนึ่งในการต่อสู้แก้ไขปัญหาปากท้อง ความยากจนข้นแค้น บรรเทาทุกข์ บำรุงสุข รักษาขวัญกำลังใจ ให้แก่ราษฏร์ของพระองค์ เนื่องจากบ้านเมืองได้รับการเผาผลาญเสียหายแทบไม่มีชิ้นดี ในขณะเดียวกันต้องทรงตระเตรียมเสบียงอาหารจัดกองทัพช้าง และม้า เพื่อไปปราบเจ้าชุมนุมต่างๆ ที่แข็งข้ออยู่ในขณะนั้น ฉะนั้น หากพระองค์เถลิงราชย์ เมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม ปี พ.ศ. ๒๓๑๑ ก็หมายความว่า พระองค์ทรงเหลือเวลาเพียง ๓ วัน ก็จะขึ้นศกใหม่ เป็นปี พ.ศ. ๒๓๑๒ และเวลาเพียง ๓ วัน คงจะไม่เอื้อำนวยให้พระองค์ทรงกระทำในเหตุการร์ต่างๆ ตามที่ได้กล่าวมา และประการสำคัญ เหตุการณ์เหล่านี้ เกิดขึ้นในปี พ.ศ. ๒๓๑๐ คาบเกี่ยวกับปี พ.ศ. ๒๓๑๑ (ไม่ใช่ปี พ.ศ. ๒๓๑๑ คบเกี่ยวกับปี พ.ศ. ๒๓๑๒)๓) มีหนังสืออยู่เล่มหนึ่ง ชื่อ “ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช” เขียนโดย ท่านพลตรี จรรยา ประชิตโรมรัน ท่านระบุชี้ชัด ในที่หน้า ๕๘-๖๒ ว่า “ ... เป็นปี พ.ศ. ๒๓๑๐ ขึ้นครองราชย์ ... ตรงกับพงศาวดารพม่า กล่าวไว้ว่า พระเจ้ากรุงอังวะ เมื่อพม่าได้โปรดให้แมงกี้มานหญ่า (พระยาทวาย) เกณฑ์กำลังพลเข้ามาทางไทรโยค ในช่วงฤดูแล้ง ปลายปี พ.ศ. ๒๓๑๐ ครั้นมาถึงบ้านบางกุ้ง เห็นค่ายทหารจีนของพระยาตากสิน จึงสั่งให้กำลังพลของตนเข้าไปโอบล้อมไว้ ...”
อาศัยเหตุดังกล่าวมา “ วันปราบดาภิเษก” ควรจะเป็นวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๑๐
ประโยชน์มวลกุศลทุกประการ อันจะก่อเกิดพึงมีจากสาระนี้ ขอน้อมถวายเป็นพระกุศลเจริญญาณพระบารมี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ตลอดจนพระมหากษัตริยาธิราชเจ้า ผู้เอกอัครพุทธศาสนูปภัมภกทุก ๆ พระองค์ น้อมบูชาพระโบราณจารย์ ผู้บริหารพระพุทธศาสนา จนถึงปัจจุบันสมัย และยังผลสู่ลูกหลานบริวารทุกๆ ดวงจิต ทุกๆ ดวงวิญญาณ ในพระองค์ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

เบื่อชีวิต

หลายครั้ง...
ที่เหนื่อยหน่ายกับชีวิต
แต่สุดท้ายชีวิตก็ยังต้องอยู่
เพื่อคนที่ฉันรักต่อไป
คุณค่าของชีวิตคือ การอยู่เพื่อคนที่เรารัก
และสุดท้ายก็เพื่อตัวตนที่แท้จริงของเราเอง
รักเสมอ...ตลอดไป

เบื่อชีวิต

หลายครั้ง...

ที่เหนื่อยหน่ายกับชีวิต

แต่สุดท้ายชีวิตก็ยังต้องอยู่

เพื่อคนที่ฉันรักต่อไป

คุณค่าของชีวิตคือ การอยู่เพื่อคนที่เรารัก

และสุดท้ายก็เพื่อตัวตนที่แท้จริงของเราเอง

รักเสมอ...ตลอดไป

ความคิด


"อย่าส่งจิตออกนอก" หลวงปู่ดุลย์ท่านสอนไว้
ผมว่าจริงนะ ผมจึงศรัทธาท่านมาก
อัฐิท่านเป็นพระธาตุ แสดงว่าท่านเป็นพระอรหันต์
ทุกครั้งที่เราส่งจิตออกนอกกาย นอกใจเรา
คิดแต่เรื่องคนอื่น คิดแล้วก็ปรุงแต่ง
คิดว่าคนนั้นน่าจะคิดกับเราอย่างนั้นอย่างนี้ คิดดีก็สุขใจ คิดชั่วก็ทุกข์ใจ
ถ้าไม่คิดก็ไม่ทุกข์ แล้วจะคิดทำไมล่ะ เมื่อรู้แล้วยังคิดอยู่ ก็บ้าแล้ว
เลิกบ้าเมื่อไหร่ก็พ้นทุกข์เมื่อนั้นแหละ คิดได้ เขียนได้ แต่ก็พยายามทำให้ได้ สาธุ

กำลังใจ

บางครั้งเหนื่อย บางครั้งท้อ
บางครั้งก็อ่อนไหว
แต่ทุกครั้งก็มีกำลังใจ
เพราะมีที่รักอยู่ใกล้ๆ เสมอมา
สัญญาจะเป็นคนดี
สัญญาจะเป็นอย่างนี้ แหละที่รักจ๋า
สัญาว่าจะรักและคิดถึงตลอดเวลา
สัญญาเราจะไม่พรากจากกัน
หายเหนื่อย หายท้อ และเข็มแข็ง
เรี่ยวแรงมากมายมหาศาล
กำลังใจที่ส่งให้...ใจชื่นบาน
จะทำงานมุ่งมั่นถึงฝั่งชัย
ด้วยรัก...เสมอมา...ตลอดไป

เงินเอ๋ย เงินเดือน

หลวงปู่ชา สุภัทโท วัดหนองป่าพง ท่านว่า
มีไม้อยู่ท่อนหนึ่ง หากเราอยากได้ไม้ที่ยาวกว่านี้ ไม้ท่อนนี้ก็สั้นไป
หากเราอยากได้ไม้ที่สั้นกว่านี้ ไม้ท่อนนี้ก็ยาวไป
ไม้ก็ยังเป็นไม้ ไม่สั้นไม่ยาว
แต่ใจคนต่างหากที่คิดว่าสั้นไปยาวไป สั้นหรือยาวอยู่ที่ใจ....
เงินเดือน...ก็เฉกเช่นเดียวกัน
หากเราอยากได้มากกว่าเงินเดือนที่บริษัทขึ้นให้
เงินเดือนที่ขึ้นก็น้อยไป
หากเราตั้งความหวังเอาไว้น้อยกว่าเงินเดือนที่บริษัทขึ้นให้
เงินเดือนที่ขึ้นก็มากกว่าที่คิดไว้...ก็ดีใจ
สั้นหรือยาว...อยู่ที่ใจ มากหรือน้อย...ก็อยู่ที่ใจ
คิดมากก็เครียดมาก...บ่นมากคนเขาก็พลอยรำคาญ ได้มากได้น้อยก็เฉยๆ เข้าไว้ พูดมากก็ไม่ดี... เขาพูดกันไว้ว่า ..ไม่พอใจก็ต้องลาออกไป...อย่าตีโพยตีพายเลยพรรคพวกเอ๋ย...เอวัง

ฟ้าบ่มิกั้น

ท้องฟ้ากว้างใหญ่
มิอาจกั้นหัวใจ...เราทั้งสอง
สายลมและแสงแดดที่สาดส่อง
คือโซ่คล้องหัวใจ...กันและกัน
คิดถึงเสมอ...
รักแรกเจอ...กับหนึ่งภาพแห่งความฝัน
ความรูสึกดีๆ ที่ผูกพัน
คือสายใย...ระหว่างฉันและเธอ

เกียรติ กวีศิลป์

วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

การเมืองไทย...มาสาบานกันดีมั้ยเอ่ย

ผมเชื่อเรื่องสาบาน ใครไม่เชื่อก็ด่าว่าผมงมงายได้ครับ ไม่โกรธ เป็นความเชื่อส่วนบุคคล
การแก้ไขปัญหาที่ดีที่สุด คือ การให้อภัยทาน
จงให้อภัยทุกฝ่าย เปิดใจให้กว้าง แล้วเริ่มต้นกันใหม่ ยุบสภาดีกว่าครับ
แต่ก่อนยุบ ต้องให้รัฐบาล ทำพิธีโองการแช่งน้ำ ดื่มน้ำสาบาน ว่าทุกฝ่ายจะเลิกลาต่อกัน จะตั้งมั่นในความสุจริต ทำงานเพื่อประเทศชาติ
น้ำที่ดื่มต้องทำพิธีปลุกเสก ด้วยผู้นำทางศาสนา ทุกศาสนา ทั้ง พุทธ พราหมณ์ คริสต์ อิสลาม ไสยศาสตร์ เวทมนตร์ ทำพิธีแช่งชักหักกระดูก เผาพริกเผาเกลือ แล้วให้ทุกฝ่ายกิน คราวนี้ยุบสภาได้ เลือกตั้งใหม่ ใครทำชั่วผิดคำสาบานก็รับผลกรรมเอาเองละครับพี่น้อง...เอวัง ก็มีด้วยประการนี้

วันอังคารที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

พระพุทธศาสนาไม่เคยทะเลาะกับวิทยาศาสตร์

การค้นพบทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมามีส่วนช่วยให้เราเกิดความรู้ความเข้าใจในพระพุทธศาสนามากยิ่งขึ้น เพราะว่าหลักของพระพุทธศาสนานั้นถือว่า พระพุทธเจ้าเป็นผู้ค้นพบสัจธรรมซึ่งมีอยู่แล้ว พระพุทธเจ้าเพียงนำสัจธรรมนั้นมาประกาศแก่ชาวโลก ดังพุทธพจน์ที่ว่า “อุปฺปาทา วา ภิกฺขเว ตถาคตานํ อนุปฺปาทา วา” เป็นต้น แปลความว่า “ภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตเจ้าทั้งหลายจะอุบัติขึ้นหรือไม่ก็ตาม ธาตุนั้นคือ ธรรมฐิติ (ความดำรงอยู่ตามธรรมชาติ) ธรรมนิยาม (กฎธรรมชาติ) อิทัปปัจจยตา (ภาวะที่สรรพสิ่งเกิดดับตามเหตุตามปัจจัย) ก็ยังมีอยู่ พระตถาคตเจ้าย่อมตรัสรู้ทั่วถึงซึ่งธาตุอันนั้นแล้วบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้เข้าใจง่าย” พระพุทธเจ้าได้ทรงค้นพบและประกาศเปิดเผยกฎธรรมชาติไว้เมื่อสองพันห้าร้อยปีมาแล้ว ต่อมาวิทยาศาสตร์สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ได้ค้นพบกฎธรรมชาติเดียวกันนั้นหรือเพิ่มเติมอื่นใด สิ่งที่ศาสตร์ทั้งหลายค้นพบย่อมจะนำไปสู่ความจริงเดียวกัน นั่นคือสัจธรรมพระพุทธศาสนาไม่เคยทะเลาะกับวิทยาศาสตร์เพราะพระพุทธศาสนาไม่ได้ผูกขาดความจริง เรื่องสัจธรรม ดังนั้นสัจธรรมที่ศาสตร์ต่างๆ ค้นพบจะคลี่คลายขยายตัวมาส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจ พระพุทธศาสนาดียิ่งขึ้น มีข้อความตอนหนึ่งในพระไตรปิฎกที่แสดงว่าพระพุทธเจ้าทรงเป็นธรรมวาทีคือผู้กล่าวสัจธรรม ผู้ที่เป็นธรรมวาทีย่อมไม่ขัดแย้งกับพวกธรรมวาทีด้วยกันเพราะต่างฝ่ายต่างพูดถึงสัจธรรมหรือความจริง ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า “นาหํ ภิกฺขเว โลเกน วิวทามิ” เป็นต้น แปลความว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตย่อมไม่ขัดแย้งกับชาวโลก แต่ชาวโลกย่อมขัดแย้งกับเรา ธรรมวาทีย่อมไม่ขัดแย้งกับใครๆในโลก” เมื่อพระพุทธเศาสนาและวิทยาศาสตร์ต่างก็เป็นธรรมวาที ที่กล่าวถึงสัจธรรมความจริงด้วยกัน จึงไม่มีอะไรที่จะต้องขัดแย้งกัน มีแต่จะส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดความเข้าใจกันดียิ่งขึ้น หากจะมีความแตกต่างอยู่บ้างก็เพราะมีเป้าหมายที่ต่างกันในการแสวงหาความจริง วิทยาศาสตร์แสวงหาความจริงเพื่อเป็นนายเหนือโลกที่ควบคุมสภาวการณ์ต่างๆไว้ได้ ขณะที่พระพุทธศาสนาแสวงหาความจริง เพื่อความเป็นผู้พ้นโลกคือดับทุกข์ เมื่อเข้าใจวัตถุประสงค์ที่ต่างกันอย่างนี้แล้ว เราจะมาลองเปรียบเทียบสัจธรรม ในพระพุทธศาสนา กับความจริงที่วิทยาศาสตร์แขนงหนึ่ง คือฟิสิกส์ควอนตัมได้นำเสนอว่า มีความเหมือนหรือความต่างกันอย่างไรฟิสิกส์ดั้งเดิมปัจจุบันวิทยาศาสตร์เสนอทฤษฎีฟิสิกส์ไว้ 2 สำนักใหญ่คือ ฟิสิกส์ดั้งเดิม (Classical physics) กับฟิสิกส์ควอนตัม (Quantum physics)ถ้าเปรียบเทียบกันระหว่างฟิสิกส์ดั้งเดิมกับฟิสิกส์ควอนตัม ฟิสิกส์ทั้ง 2 สำนักมีแนวความคิดบางอย่างที่ขัดแย้งกัน แต่กลายเป็นว่าฟิสิกส์ควอนตัมกลับช่วยอธิบายหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาได้ดีกว่าฟิสิกส์ดั้งเดิมหรือฟิสิกส์นิวตัน (Newton physics) ในเรื่องที่สำคัญที่สุดของพระพุทธศาสนา 2 เรื่องคือ ปฏิจสมุทปบาทและไตรลักษณ์ปฏิจสมุทปบาทหรืออิทัปปัจจยตาเป็นคำสอนที่ว่าด้วยการที่สิ่งต่างๆอาศัยกันและกันเกิดขึ้นที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบด้วยการตรัสรู้ ส่วนเรื่องไตรลักษณ์ ซึ่งก็คือคำสอนว่าด้วยลักษณะ 3 ประการของสิ่งทั้งหลาย ได้แก่ “อนิจจัง(ไม่เที่ยง) ทุกขัง(เป็นทุกข์) อนัตตา(ไม่มีแก่นสาร)” อันเป็นหัวใจของการปฏิบัติธรรมเพื่อความหลุดพ้น เราปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเพื่อให้เห็นไตรลักษณ์ รู้แล้วละ รู้แล้ววาง ทุกวันนี้เราเข้าใจเรื่องไตรลักษณ์ได้ยากขึ้นเพราะมีแนวคิดของฟิสิกส์ดั้งเดิมมาขวางกั้นเป็นอุปสรรคของการเข้าถึงธรรม เพราะฟิสิกส์ดั้งเดิมหรือฟิสิกส์นิวตันมีแนวคิดหลักอยู่ที่ 4 หัวข้อคือ 1.อะตอม 2.กาละ 3.เทศะ และ 4.แรงโน้มถ่วงหรือแรงดึงดูดของโลกเซอร์ไอแซก นิวตัน (Sir Isaac Newton) ถือว่าสรรพสิ่งมีมวลสารที่แบ่งแยกไม่ได้และตั้งอยู่ด้วยตัวของมันเอง ซึ่งเรียกว่าอะตอม(Atom) จริงๆ แล้วความคิดเรื่องอะตอมเป็นแนวคิดหลักของฟิสิกส์ดั้งเดิมที่ถือว่าหน่วยที่เล็กที่สุดของสสาร(Matter)ในโลกที่ถูกแบ่งย่อยให้เล็กลงๆ ในที่สุดจะถึงจุดที่เล็กที่สุดซึ่งแบ่งย่อยต่อไปไม่ได้อีก ซึ่งทำหน้าที่เป็นองค์ประกอบเล็กที่สุดสำหรับสร้างจักรวาล เราเรียกว่า “Building blocks” ก็เหมือนกับก้อนอิฐแต่ละก้อนสำหรับสร้างบ้านนั่นเอง เพราะฉะนั้นหากเราแบ่งอะไรต่อมิอะไรจนไปถึงหน่วยที่เล็กที่สุดแล้วมันจะถึงจุดที่แบ่งแยกไม่ได้ ในเชิงสสารจุดที่แบ่งแยกไม่ได้นี้เรียกว่า “อะตอม” อะตอม(Atom) เป็นภาษากรีก แปลว่า “ตัดแบ่งไม่ได้ (Uncuttable)” อะตอมคือสิ่งที่เราไม่สามารถจะแบ่งย่อยต่อไปได้อีก หลักของเรื่องนี้ก็คือไม่ว่าเราแบ่งอะไรก็ตาม ในที่สุดมันต้องไปถึงจุดสุดท้าย จุดสุดท้ายที่แบ่งต่อไปไม่ได้นั่นแหละคือ “อะตอม” ซึ่งเป็นอนุภาคที่เล็กที่สุดของสสาร ความคิดอย่างนี้เราเรียกว่าเป็น “paradigm” หรือความเชื่อพื้นฐานของวิทยาศาสตร์โลกตะวันตกมากว่า 2,000 ปี จนมาถึงสมัยนิวตันก็ยังเชื่อว่ามีอะตอม นิวตันเชื่อว่าสสารซึ่งมีองค์ประกอบที่เล็กที่สุดคืออะตอมได้สร้างจักรวาล สร้างดวงดาว สร้างอะไรต่างๆ ที่เคลื่อนไหวก่อให้เกิดแรงโน้มถ่วงที่กระทำต่อกันในกล่องใบใหญ่ซึ่งเป็นที่ว่างคือเทศะในจักรวาลอันว่างเปล่าใหญ่โตและขึ้นอยู่กับกาลเวลาอีกประเด็นหนึ่งที่ฟิสิกส์ดั้งเดิมของนิวตันเห็นขัดแย้งกับพระพุทธศาสนาก็คือเรื่องกาลเวลานิวตันเชื่อว่ากาลเวลาเป็นเรื่องที่มีอยู่ในตัวของมันเอง แต่พระพุทธศาสนาถือว่ากาละหรือเวลา เป็นสิ่งที่เราคิดขึ้น ในพระอภิธรรมเราเรียกว่าบัญญัติ คือคนเราคิดขึ้นมาโดยที่กาลเวลาไม่ได้มีอยู่ในตัวมันเอง แต่นิวตันถือว่ากาละหรือเวลาเป็นความจริงอีกมิติหนึ่งมีอยู่จริง มวลสารของจักรวาลที่เรียกว่าอะตอมหรืออนุภาคที่เล็กที่สุดมารวมตัวกันเป็นสิ่งต่างๆ เช่นดวงดาวแล้วเคลื่อนไหวในเทศะหรือที่ว่างในอวกาศ ที่ว่างหรือเทศะนี้ก็เป็นความจริงอีกมิติหนึ่งเช่นเดียวกับกาละ สิ่งต่างๆในจักรวาลที่เคลื่อนไหวนั้นได้สร้างแรงที่กระทำต่อกันเรียกว่าแรงดึงดูดหรือแรงโน้มถ่วง สิ่งทั้งหลายเคลื่อนไหวและมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันภายใต้กฎที่ชัดเจนแน่นอน เหมือนกับเครื่องจักรกลของนาฬิกาที่เดินอย่างเที่ยงตรงจนเราคาดเวลาล่วงหน้าได้ ในทำนองเดียวกัน ถ้าเรารู้ความสัมพันธ์ที่เป็นแบบแผนของสิ่งต่างๆว่าอะไรกระทำต่ออะไร ณ จุดไหนในจักรวาล เราก็สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นที่ไหนเมื่อไรเพราะฉะนั้น ฟิสิกส์ดั้งเดิมของนิวตันจึงถือว่า ถ้าเรารู้เทศะคือจุดที่สสารตั้งอยู่ และรู้แรงทั้งหมดที่มากระทำต่อสสารนั้นๆในเวลานั้น เราก็จะสามารถพยากรณ์ได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นในอนาคต ดังที่นักคณิตศาสตร์ฝรั่งเศสชื่อปิแอร์ ซีโมน ลาปลาซ (Pierre Simon Laplace) กล่าวอย่างมั่นใจว่า “ในขณะใดขณะหนึ่งที่กำหนดให้ปัญญาซึ่งรู้แรงทุกแรงที่กระทำอยู่ในธรรมชาติ และรู้ตำแหน่งของสิ่งต่าง ๆ ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นโลก สมมติว่าปัญญาดังกล่าวนั้นกว้างขวางพอที่จะนำเอาข้อมูลเหล่านี้ไปวิเคราะห์ มันย่อมจะรวมสูตรการเคลื่อนที่ของก้อนวัตถุที่ใหญ่ที่สุดในจักรวาลและของอะตอมที่เล็กที่สุดเอาไว้ด้วย ไม่มีสิ่งที่ไม่แน่นอนสำหรับมัน และเช่นเดียวกับอดีต อนาคตจะปรากฏแก่สายตาของมัน”คนเราทุกวันนี้ตกอยู่ใต้อิทธิพลความคิดของฟิสิกส์ดั้งเดิมแบบนี้ เพราะเราเชื่อว่าวิทยาศาสตร์จะสามารถบอกอดีต ทำนายอนาคต ทำให้เกิดการป้องกันต่างๆ เพราะเชื่อว่าสิ่งต่างๆ เกิดขึ้นภายใต้การควบคุมของกฎจักรวาล เมื่อเรารู้กฎวิทยาศาสตร์แล้วเราก็สามารถที่จะควบคุมตัวแปรต่างๆ โดยใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์ได้ และสามารถที่จะปรับตัวให้สอดคล้องกับอนาคตที่จะตามมาได้ ดังนั้น ฟิสิกส์ดั้งเดิมได้สร้างภาพของจักรวาลให้เป็นเหมือนเครื่องจักรกลมโหฬารที่ค่อนข้างจะมีความแน่นอน มั่นคงและปลอดภัยจนมนุษย์สามารถพยากรณ์ล่วงหน้าได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ด้วยเหตุนี้ฟิสิกส์ดั้งเดิมจึงส่งเสริมความเชื่อแบบนิยัตินิยม (Determinism) คือแนวคิดที่ว่าทุกเหตุการณ์ในโลกนี้ถูกกำหนดล่วงหน้าไว้แล้วว่าต้องเกิดขึ้นเมื่อนั้นเมื่อนี้ ฟิสิกส์ควอนตัมอย่างไรก็ตาม ฟิสิกส์ควอนตัมได้เข้ามาทำให้ความเชื่อเรื่องความแน่นอน มั่นคงและปลอดภัยแบบนี้หมดไป เปรียบเหมือนกับการที่เรากำลังยืนอยู่บนพรมแห่งความมั่นคงปลอดภัยของฟิสิกส์ดั้งเดิมของนิวตันแล้วอยู่ๆ ก็มีคนมากระตุกพรมออกจากใต้เท้าของเราจนเราล้มทั้งยืน ฟิสิกส์ควอนตัมทำลายความมั่นใจของฟิสิกส์ดั้งเดิมให้หมดไปคำว่า “ควอนตัม (Quantum)” เป็นภาษาลาตินแปลว่า “ขนาดไหน” หรือ “จำนวนเท่าไร” เป็นคำที่ใช้พูดถึงจำนวนหรือขนาดพลังงานของอะตอม คล้ายกับคำว่า “นาโน (Nano)” ซึ่งเป็นภาษากรีก แปลว่า “คนแคระ” เป็นคำที่ใช้วัดขนาดของสิ่งที่เล็กมากๆ เช่น อะตอม ดีเอ็นเอ ในนาโนเทคโนโลยีฟิสิกส์ควอนตัมเสนอภาพใหม่ของจักรวาลที่มีความไม่เที่ยงแท้แน่นอน ความคิดที่ว่าจักรวาลมีความเป็นเหตุเป็นผลที่เราพยากรณ์ล่วงหน้าได้กลายเป็นความไม่แน่นอน จนกระทั่งอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein)เจ้าของทฤษฎีสัมพัทธ์ที่มีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดทฤษฎีควอนตัมขึ้นมาก็ได้พยายามปฏิเสธทฤษฎีควอนตัมในบั้นปลายชีวิต โดยที่ไอน์สไตน์กล่าวว่าถ้าทฤษฎีควอนตัมเป็นจริง โลกใบนี้ก็จะไม่มีกฎระเบียบอะไรเลย ซึ่งเขาใช้คำว่าเพี้ยน (Crazy) ดูเหมือนว่าตอนนี้โลกเพี้ยนจริงๆ คือบางครั้งดูจะไร้กฎ ไร้ระเบียบ ไม่มีความแน่นอนอะไรเลย ดังที่เรามักจะพูดว่าไม่มีอะไรแน่นอนนอกจากความไม่แน่นอน ทฤษฎีควอนตันจึงโยงไปถึงคำสอนเรื่อง ‘อนิจจัง ความไม่ที่ยง’ ในพระพุทธศาสนา ทั้งนี้เพราะว่าทฤษฎีควอนตันได้เปิดเผยสภาวะที่เรียกว่าความไม่แน่นอน (Uncertainty) เนื่องจากว่า แนวคิดสำคัญประการหนึ่งของฟิสิกส์ควอนตัมก็คือหลักการที่ว่าด้วยความไม่แน่นอน (Uncertainty Principle) ในฟิสิกส์ดั้งเดิมของนิวตัน จักรวาลมีกฎระเบียบแน่นอนจนเราพยากรณ์ได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น โลกนี้มีกฎธรรมชาติที่แน่นอน แต่ฟิสิกส์ควอนตันกลับเสนอว่าโลกนี้มีความไม่แน่นอน ดังนั้นไอน์สไตน์จึงกล่าวว่า ถ้าทฤษฏีของฟิสิกส์ควอนตัมเป็นจริง มันจะไม่มีความเป็นเหตุเป็นผล ไม่มีความเป็นกฎที่แน่นอน แสดงว่าเราจะไม่สามารถบอกได้ว่ามันจะเป็นอย่างไรต่อไป เพราะมันเป็นไปตามหลักการที่ว่าด้วยความไม่แน่นอนของฟิสิกส์ควอนตัมเสียแล้ว ควรทราบว่า การที่ทฤษฏีควอนตัมทำให้ภาพของจักรวาลเปลี่ยนไป เพราะฟิสิกส์ควอนตัมไม่ได้ไปสนใจเรื่องกฎของจักรวาลแบบมหภาค ฟิสิกส์ควอนตัมไม่ได้สนใจเรื่องการโคจรดวงดาว เรื่องดวงจันทร์ หรือเรื่องน้ำขึ้นน้ำลงอะไรต่างๆ เหล่านี้ แต่ฟิสิกส์ควอนตัมกลับสนใจศึกษาโครงสร้างของอะตอมที่เป็นอนุภาคพื้นฐานสำหรับสร้างจักรวาล ซึ่งถ้าเราเข้าใจองค์ประกอบพื้นฐานตรงนี้ เราจะเข้าใจภาพรวมของจักรวาลทั้งหมด ดังนั้น ฟิสิกส์ควอนตัมจึงเป็นการกลับไปหาจุดเริ่มต้นดั้งเดิมของจักรวาลภาพรวมของจักรวาลอย่างที่เราศึกษากันอยู่ในทุกวันนี้นั้นส่วนใหญ่เป็นแนวคิดแบบฟิสิกส์ดั้งเดิมของนิวตัน ซึ่งเป็นการพูดถึงเรื่องใหญ่แบบมหภาค แต่ฟิสิกส์ควอนตัมหันมาศึกษาเรื่องที่เล็กมาก แบบจุลภาค (Micro) นั่นคือโครงสร้างของอะตอมหรือปรมาณู จึงกล่าวได้ว่า ฟิสิกส์ควอนตัมสนใจส่วนที่เล็กที่สุดของจักรวาลนักวิทยาศาสตร์ในอดีตเชื่อว่า อะตอมไม่มีโครงสร้างอะไรเพราะมันเป็นอนุภาคที่เล็กที่สุดในจักรวาล คนสมัยก่อนเชื่อว่าอะตอมแบ่งแยกไม่ได้ตามที่นักปรัชญากรีกเชื่อกันมาเป็นพันๆ ปี แม้แต่ในอินเดีย ปรัชญาฮินดูสำนักไวเศษิกะก็สอนว่ามีอะตอมหรือปรมาณู ตรงกับที่เรียกว่า “อัตตา” หรือ “อาตมัน” นั่นคือ มีสิ่งที่แบ่งแยกย่อยต่อไปไม่ได้ เรียกว่า ปรมาณู อะตอม อัตตาหรืออาตมัน ในบรรดาศาสนาสำคัญของโลกมีเพียงศาสนาเดียวเท่านั้นที่ปฏิเสธอะตอม ปฏิเสธอัตตาหรืออาตมัน นั่นก็คือพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาเดียวที่ยืนยันว่าไม่มีแก่นสารทั้งในฝ่ายจิตและฝ่ายสสาร แก่นสารในฝ่ายจิตเรียกว่าอาตมันหรือวิญญาณอมตะ (Immortal soul) ส่วนแก่นสารในฝ่ายสสารเรียกว่าอะตอมหรือปรมาณู ศาสนาคริสต์ อิสลาม พราหมณ์-ฮินดูต่างสอนว่ามีอาตมันหรือวิญญาณอมตะในมนุษย์และมีอะตอมหรือปรมาณูในสสาร พระพุทธเจ้าตรัสว่า “สัพเพ ธัมมา อนัตตา” แปลว่า “สิ่งทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา” หมายความว่า สรรพสิ่งทั้งที่เป็นจิตและสสารล้วนไม่มีแก่นแท้ถาวร คือเป็นอนัตตา เมื่อแปลคำว่าอนัตตาเป็นภาษาอังกฤษก็ต้องใช้คำ 2 คำ นั่นคือ ถ้าใช้คำว่าอนัตตาให้หมายถึงว่าไม่มีอาตมันหรือวิญญาณอมตะในมนุษย์ เราต้องแปลว่า Not-self หรือ Non-ego แต่ถ้าใช้อนัตตาให้หมายถึงว่าไม่มีอะตอมหรือแก่นสารที่เที่ยงแท้ในสสาร เราต้องแปลว่า Non-substantiality (ไม่มีแก่นแท้ถาวร)พระพุทธศาสนาสอนเรื่องอนัตตาในจิตและสสารมากว่าสองพันปี พระพุทธศาสนาถือว่าไม่มีอัตตาหรืออะตอมสสาร ทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีแก่นแท้ถาวรที่ตั้งอยู่ได้ในตัวของมันเอง สรรพสิ่งอาศัยกันและกันเกิดขึ้นตลอดเวลาตามหลักปฏิจจสมุปบาท ดังที่ควอนตัมฟิสิกส์ระบุว่าไม่มีอะตอมที่อยู่ได้ตามลำพังตัวเอง โครงสร้างอะตอมประกอบด้วยอีเล็คตรอน โปรตอนและนิวตรอน อนุภาคของอะตอมที่เป็นประจุไฟฟ้าบวก(โปรตอน)และประจุไฟฟ้าลบ(อีเล็คตรอน)ต่างมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน อีเล็คตรอนวิ่งโคจรรอบนิวเคลียสด้วยความเร็วที่สูงมาก การเกาะกลุ่มของประจุไฟฟ้าเหล่านั้นกลายเป็นอะตอม และประจุไฟฟ้าเหล่านั้นก็ไม่อาจอยู่ได้ตามลำพัง ทั้งหมดต่างอาศัยกันและกันเกิดขึ้นตามหลักปฏิจจสมุปบาทในพระพุทธศาสนา โดยสรุปแล้วภาพของจักรวาลในทฤษฎีควอนตัมต่างจากฟิสิกส์ดั้งเดิมของนิวตันก็คือ อะตอมถูกแบ่งย่อยออกไปเป็นองค์ประกอบที่เล็กกว่าซึ่งเป็นประจุไฟฟ้าที่วิ่งวนกันเองคืออีเล็คตรอน โปรตอนและนิวตรอน อะตอมจึงเป็นสนามพลังงานขนาดจิ๋ว องค์ประกอบย่อยของอะตอมนั้นบางครั้งก็เป็นอนุภาค(Particle) บางครั้งก็เป็นคลื่น (Wave) อีเล็คตรอนของอะตอมเคลื่อนที่รอบแกนกลางคือนิวเคลียสตลอดเวลา ขณะที่อีเล็คตรอนกำลังเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง อีเล็คตรอนปรากฎเป็นคลื่น ด้วยความเร็วระดับนั้น เราจึงไม่อาจกำหนดตำแหน่งที่ตั้งของอีเล็คตรอนนั้นในขณะใดขณะหนึ่งได้ ถ้าเราจะพยายามหาตำแหน่งที่ตั้งของมันก็ต้องจับให้อีเล็คตรอนหยุดนิ่งอยู่กับที่ซึ่งจะทำให้มันสูญเสียคุณสมบัติแห่งความเป็นคลื่น อีเล็คตรอนที่หยุดนิ่งจะกลายเป็นอนุภาคทันที ดังนั้น องค์ประกอบย่อยของอะตอมบางครั้งจึงเป็นอนุภาคบางครั้งก็เป็นคลื่น ความเป็นทั้งอนุภาคและทั้งคลื่นนี้แหละที่ทำให้เกิดสภาวะที่ไม่สามารถพยากรณ์ได้ (Unpredictable) ตราบใดที่อนุภาคของอะตอมยังเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง มันก็ปรากฎเป็นคลื่น เราไม่มีทางที่จะกำหนดคุณสมบัติที่แน่นอนของคลื่นนี้ได้ เมื่อเราพยายามหยุดมันไว้กับที่ มันก็สูญเสียคุณสมบัติของตัวมันเอง นอกจากนี้ วงโคจรของอนุภาครอบนิวเคลียสก็เปลี่ยนแปลงไปตามแรงที่กระทำต่อนิวเคลียส ดังนั้น พฤติกรรมขององค์ประกอบย่อยภายในโครงสร้างของอะตอมจึงเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เพราะมันมีคุณสมบัติที่เรากำหนดไม่ได้และมีวงโคจรที่ไม่แน่นอน นี่คือหลักการแห่งความไม่แน่นอน (Uncertainty Principle)หลักการแห่งความไม่แน่นอนของฟิสิกส์ควอนตัมได้เปลี่ยนแนวคิดของฟิสิกส์ดั้งเดิม ที่ชูธงเรื่องความแน่นอนที่เราสามารถจะพยากรณ์อะไรก็ได้ ความเชื่อเรื่องความแน่นอนเหล่านี้เป็นไปไม่ได้อีกแล้วสำหรับฟิสิกส์ควอนตัมควอนตัมกับพุทธธรรมความก้าวหน้าของฟิสิกส์ควอนตัมช่วยให้เราเข้าใจในพระพุทธศาสนาได้มากขึ้นอย่างไร ?ประการแรก ฟิสิกส์ควอนตัมช่วยสนับสนุนเรื่องอนัตตาในพระพุทธศาสนา นั่นคือทั้งพระพุทธศาสนาและทฤษฎีควอนตัมต่างยืนยันว่าไม่มีอะตอมหรืออัตตาที่แบ่งแยกไม่ได้ อะตอมหรืออัตตาเป็นสิ่งที่แบ่งย่อยออกไปได้ ไม่มีอะไรที่เป็นแก่นสารตั้งอยู่ได้ตามลำพังตนเอง ทุกสิ่งทุกอย่างอาศัยกันและกันเกิดขึ้นตามหลักปฏิจจสมุปบาท ประการต่อมา หลักการแห่งความไม่แน่นอน (Uncertainty Principle) ของฟิสิกส์ควอนตัมช่วยให้เราเข้าใจคำสอนเรื่องอนิจจังคือความไม่เที่ยงในพระพุทธศาสนาได้ดียิ่งขึ้นอนิจจังหรือความไม่เที่ยงนี้มีเหตุ มีปัจจัย มีตัวแปรมากมายเกินกว่าที่จะมาคิดในเชิงนิยัตินิยมแบบนิวตัน ดังที่หลักกรรมในพระพุทธศาสนากำหนดว่า “ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว” เมื่อพูดถึงพระพุทธศาสนากับฟิสิกส์ควอนตัม คนมักสงสัยว่าความเชื่อของชาวพุทธในเรื่องกฎแห่งกรรมจะขัดกับหลักการของฟิสิกส์ควอนตัมหรือไม่?ก่อนอื่น เราต้องเข้าใจกฎแห่งกรรมในมุมมองที่ว่า ใครก็ตามที่เชื่อว่าปัจจุบันที่เราเป็นอยู่นี้เป็นผลมาจากกรรมในอดีตความเชื่อนี้ถูกต้องแต่ใครที่เชื่อว่ากรรมที่เราทำทุกอย่างในวันนี้เราจะต้องได้รับผลในอนาคตอย่างแน่นอน ความเชื่อนี้ผิดหลักพระพุทธศาสนา เพราะอะไร? ก็เพราะถ้าคิดว่ากรรมที่เราทำทุกอย่างในวันนี้ เราจะต้องได้รับผลหรือวิบากตามในอนาคตทั้งหมด คนที่ทำบาปกรรมมามากก็ไม่สามารถจะเป็นพระอริยะได้เพราะเขาต้องไปชดใช้กรรมไม่รู้จักจบสิ้น หลักคำสอนของพระพุทธศาสนามีอยู่ว่า เราสามารถทำกรรมดีในปัจจุบันเพื่อล้างบาปกรรมในอดีตได้ เราจึงสามารถเปลี่ยนอดีตได้ ด้วยเหตุนี้ คนเคยทำบาปก็สามารถเป็นพระอรหันต์ได้ ชีวิตของเราสามารถเปลี่ยนแปลงได้ด้วยการทำกรรมดีในปัจจุบันหลักการแห่งความไม่แน่นอน (Uncertainty Principle) ของฟิสิกส์ควอนตัมช่วยทำให้เราสามารถสร้างอนาคตของเราได้ใหม่ ชีวิตของเราไม่ได้ถูกลิขิตตายตัวจากอดีต ชีวิตของเรามีความไม่แน่นอนรออยู่ข้างหน้า ถ้าเราหมั่นทำดี เราก็จะเจริญก้าวหน้าเป็นการยากที่จะพยากรณ์ล่วงหน้าได้ว่าคนที่ทำดีอย่างนั้นๆจะได้ดีในอนาคตเมื่อไร เพราะมีตัวแปรมากมาย เนื่องจากคนเราทำกรรมทั้งดีและชั่วคละเคล้ากันไป จึงเป็นการยากที่จะบอกว่าที่คนคนนี้ได้ดีครั้งนี้เพราะทำความดีนั้นไว้เมื่อวันนั้นวันนี้ในอดีต พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า เส้นทางการให้ผลของกรรมเป็นอจินไตย คือเป็นเรื่องที่ไม่ควรคิดปัจจัยตัวแปรมากจึงมีความไม่แน่นอนอยู่เสมอครั้งหนึ่งหลวงพ่อชาวัดหนองป่าพงถูกลูกศิษย์ขอร้องให้ทำนายทายทักโชคชะตาอนาคตของเขา ท่านทนรบเร้าไม่ไหวจึงบอกให้เขาแบมือยื่นมาให้ท่านดูลายมือ หลวงพ่อชาเพ่งดูลายมือลูกศิษย์อยู่พักใหญ่แล้วพึมพำว่า “น่าสนใจ น่าสนใจ” ลูกศิษย์ถามว่า “อนาคตผมเป็นอย่างไรหรือครับ” หลวงพ่อชาตอบว่า “อนาคตของคุณน่าสนใจเพราะมันมีแต่ความไม่แน่นอน”เป็นที่น่าสังเกตว่า คำว่า “Uncertainty (ความไม่แน่นนอน)” ซึ่งเป็นหลักการหนึ่งของฟิสิกส์ควอนตัม ก็ตรงกับคำว่า “อนิจจตา (ความไม่เที่ยง)” ในพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาเรื่องโครงสร้างของอะตอมกลับยิ่งมาส่งเสริมความเข้าใจในเรื่อง “ทุกขัง (เป็นทุกข์)” คำว่าทุกข์มี 2 ความหมายที่สำคัญคือประการแรกทุกข์หมายถึง “ทุกขเวทนา” ได้แก่ความไม่สบายกายไม่สบายใจซึ่งหมายของทุกข์ในอริยสัจ ทุกข์ในอีกความหมายหนึ่งคือ “ทุกขลักษณะ” ซึ่งเป็นทุกช์ในไตรลักษณ์ ทุกขลักษณะหมายความว่า สรรพสิ่งตกอยู่ภายใต้การบีบคั้นให้ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเราโยนก้อนดินขึ้นไปบนท้องฟ้าแล้วมันก็ต้องตกลงมาแตกบนพื้นดิน การที่ก้อนดินตกลงมาแตกเป็นอนิจจังคือความไม่เที่ยง แต่เหตุที่ก้อนดินตกลงมาจากท้องฟ้าก็เพราะถูกแรงดึงดูดของโลกบีบคั้นให้ต้องตกลงมา ก้อนดินไม่อาจจะอยู่บนฟ้าเพราะมีแรงที่ไปกด ไปบีบ ไปดึงก้อนดินให้ตกลงมานั่นแสดงว่าก้อนดินเป็น“ทุกขัง” คือทนอยู่ในสภาพเดิมได้ยากในจักรวาลนี้ไม่มีอะไรที่อยู่ได้ด้วยตัวของมันเองโดยไม่ถูกกระทำจากพลังอื่น อีเล็คตรอน โปรตอนและนิวตรอนไม่ได้อยู่ตามลำพัง มันมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันก่อให้เกิดพลังบีบถูกคั้นให้ต้องเปลี่ยนแปลง มันจึงเป็นทุกขัง คือทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้การที่อนุภาคพื้นฐานของอะตอมอยู่ด้วยตัวเองไม่ได้ก็หมายถึงว่ามันเป็น“อนัตตา”คือไม่มีแก่นสารของตัวเอง ไม่มีสิ่งใดที่ตั้งอยู่ถาวรด้วยตัวของมันเอง สรรพสิ่งต่างอาศัยกันและกันเกิดขึ้นตามหลัก “ปฏิจจสมุปบาท” ซึ่งมาจากคำว่า “ปฏิจจะ” แปลว่า อาศัยกันและกัน “สมุปบาท” แปลว่า เกิดร่วมกัน ในโลกนี้ไม่มีอะไรอยู่ได้ด้วยตัวลำพังของมันเอง เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนั้นก็มี เมื่อสิ่งนี้เกิด สิ่งนั้นก็เกิด เมื่อสิ่งนี้ดับ สิ่งนั้นก็ดับ เรื่องนี้เรานำมาโยงกับเรื่องอริยสัจ 4 ในพระพุทธศาสนาที่ว่าด้วยทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรคมีทุกข์เพราะมีสมุทัยคือมีเหตุแห่งทุกข์ เมื่อดับเหตุได้ก็เกิดนิโรธคือความดับทุกข์ จะดับทุกข์ได้ก็ต้องมีมรรคคือวิธีการดับทุกข์ นี่คือประยุกต์ปฏิจจสมุทปบาทเอามาใช้ในชีวิตจริง สติกับควอนตัมในการประยุกต์ปฏิจจสมุทปบาทเอามาใช้ในชีวิตจริงนั้น ตัวมรรคหรือวิธีปฏิบัติที่เป็นหัวใจสำคัญก็คือ “สติ” เรามักจะพูดว่า “สติมาปัญญาเกิด สติเตลิดมักเกิดปัญหา” เวลาที่เรามีความทุกข์ในใจ เวลาเราเครียด เวลาเรากลุ้ม เวลาเราโกรธ เราจะดับทุกข์ได้อย่างไร สติมี 2 อย่างคือ 1. ระลึกรู้ทันสิ่งที่เกิดกับเรา อย่างเช่น มองเห็นสิ่งต่างๆ ภายนอกในขณะปัจจุบันนี้ หรือเสียงที่เข้าหูเรา ปัจจุบันอยู่ตรงไหนรู้ทันหมด เหมือนเราขับรถก็เห็นไฟเขียวไฟแดง นี่คือมีสติกับสิ่งภายนอก 2. ระลึกรู้ทันความคิดที่เกิดขึ้นในจิตของเรา เวลาเราเห็น เวลาเราฟังแล้วคิดอย่างไร เรารู้ทันความคิดที่มาเกิดขึ้นภายในจิตใจ เราก็เรียกความรู้ทันนี้ว่าสติ เช่น จิตโกรธก็รู้ว่าโกรธ เซ็งก็รู้ว่าเซ็ง เครียดก็รู้ว่าเครียด ฟิสิกส์ควอนตัมช่วยให้เข้าใจเรื่องสติได้อย่างไร ? ทฤษฎีเรื่องความไม่แน่นอนของฟิสิกส์ควอนตัมช่วยให้เราเข้าใจว่า เมื่อเราพยายามจะสังเกตความเร็วหรือธรรมชาติของอีเล็คตรอน เราก็จะต้องหยุดอีเล็คตรอนไม่ให้เคลื่อนที่ พออีเล็คตรอนหยุดมันก็จะเสียความเคลื่อนไหว ธรรมชาติของมันก็เปลี่ยนไป เราก็ศึกษาธรรมชาติของมันไม่ได้ นี่เรียกว่ามีผลกระทบจากผู้สังเกตต่อสิ่งที่ถูกสังเกต การสังเกตได้เข้าไปเปลี่ยนธรรมชาติของสิ่งที่ถูกสังเกต มันจึงมีความไม่แน่นอนเกิดขึ้น เมื่อเราไปเข้าสังเกตหรือศึกษามันเมื่อใด มันก็เปลี่ยนแปลงไปเมื่อนั้น เพราะฉะนั้นสิ่งนี้ก็คือความไม่แน่นอน แม้แต่ในทฤษฎีสัมพัทธ์ก็เหมือนกัน “กาละ” หรือ “เวลา” ขึ้นอยู่กับจุดที่เราสังเกตสิ่งต่างๆ ที่เคลื่อนไหว คนคนหนึ่งไปสังเกตสิ่งหนึ่งตรงจุดนี้ เวลาขณะนั้นผ่านไปช้ามาก เช่น เวลาแห่งการรอคอยที่ผ่านไปอย่างเชื่องช้า อีกคนหนึ่งไปสังเกตสิ่งหนึ่งอยู่ที่อื่นเวลาก็ผ่านไปเร็วมาก ดังเช่น เมื่อเรามีความสุข เวลาผ่านไปอย่างกับมีปีกบิน เวลาจึงเป็นเรื่องของความสัมพัทธ์ตามทฤษฎีของไอน์สไตน์ ในทำนองเดียวกัน สิ่งที่อยู่ภายในตัวเราคือจิต มันเคลื่อนที่เร็วมาก มันเกิดดับเร็วมาก โกรธขึ้นมาปั๊บเราไม่ทันรู้ตัวเราเลย เมื่อเครียดขึ้นมา ความเครียดก็ท่วมทับจิตใจของเรา โดยที่เราไม่ได้สังเกตมันเลย และเราก็มักจะปล่อยให้ความทุกข์มันท่วมหัว เราเครียด เราทุกข์ โดยไม่เคยหันมาสังเกต สภาวะจิตของเราในขณะนั้นเลย ถามว่าเราจะสามารถสังเกตสภาวะของจิตในขณะปัจจุบันได้หรือไม่ ? คำตอบก็คือไม่ได้ สมมติว่าตอนนี้เรากำลังมีความสุขเหลือเกิน มีความสุขจากการทานอาหารที่อร่อย ถามว่ารู้ได้อย่างไรว่าอร่อย เราเอาจิตมองมาที่ความรู้สึกของเรา จิตเกิดต่อกันเป็นกระแสอย่างนี้ จิตปัจจุบันจะไม่สามารถรู้ตัวของมันเอง จิตที่มีความรู้สึกว่าอร่อย มันเป็นคนละดวงกับจิตที่สังเกตความรู้สึกอร่อย จิตผู้สังเกตเป็นดวงปัจจุบัน ขณะที่จิตที่ถูกสังเกตเป็นดวงจิตอดีต จิตที่เป็นปัจจุบันจะมองหรือเพ่งตัวเองไม่ได้ เหมือนกับคมมีดที่ไม่อาจจะตัดตัวมันเองหรือเหมือนกับไฟฉายที่ส่องไปที่อื่น ไฟฉายส่องตัวเองไม่ได้ จิตในปัจจุบันจึงสังเกตรู้จิตที่เป็นอดีตเท่านั้น เมื่อหนึ่งนาทีที่ผ่านมาท่านรู้สึกอย่างไร ท่านกำหนดรู้ได้ อธิบายได้ เพราะเป็นการใช้จิตปัจจุบันมองจิตอดีต ถามว่าเป็น ‘อดีต’ ที่แท้จริงหรือเปล่า ? นี่ก็เหมือนกับหลักการแห่งความไม่แน่นอนในทฤษฎีควอนตัม พอเราไปหยุดจิตเพื่อศึกษามัน มันก็ไม่เป็นความจริงร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะจิตได้สูญเสียความเป็นผู้รู้ (subject) และกลายเป็นสิ่งที่ถูกกำหนดรู้ (object) ยกตัวอย่างการที่เราผิดหวังเพราะไม่ได้รับการเลื่อนตำแหน่ง ฟังข่าวครั้งแรกนี่ช็อคเลย ทำไมเจ้านายทำกับเราอย่างนี้ เราอุตส่าห์ขยันทำงาน บุญก็ทำมามาก เราช็อคจนทำอะไรไม่ถูกแล้วก็ไม่มีความสุข พอผ่านไปอีก 5 วัน ความรู้สึกมันคลายลงไป หายช็อค หายทุกข์ หายเครียด แล้วเราก็มองย้อนกลับมาดูตอนที่เราได้ฟังข่าวครั้งแรกที่เราเครียด เราช็อค รู้สึกผิดหวัง เราย้อนมองความรู้สึกตอนนั้น ถ้าให้บรรยายราก็สามารถที่จะบอกได้ว่าช็อคอย่างนั้นเสียใจอย่างนี้ แต่สิ่งที่บอกเล่าวันนี้ไม่ใช่ความรู้สึกที่แท้จริงเมื่อสามวันก่อน ยิ่งเวลาผ่านไปปีหนึ่ง เรายิ่งรู้สึกเฉยมากกับเหตุการณ์ครั้งนั้น แม้เราพยายามจะฟื้นความรู้สึกนั้นมันก็ไม่กลับมา มันเป็นความทรงจำที่ลางเลือน ไม่เข้มข้นเต็มที่เหมือนตอนที่เราได้ฟังข่าวร้ายครั้งแรกเพราะอะไร ก็เพราะสถานะของเราในปัจจุบันมันไปกระทบกับสิ่งที่ถูกมอง เราไม่ได้ไปเสวยอารมณ์ในอดีต เรามองอดีตเหมือนกับสิ่งที่อยู่ภายนอก เหมือนกับไม่ใช่ตัวของเรา ผลก็คือผู้มองได้เปลี่ยนสถานะความเป็นจริง เปลี่ยนความเข้มข้นของสิ่งที่ถูกมองในกระแสจิตเดียวกัน ทำไมต้องรอให้มันผ่านไปสามวัน เราค่อยมามองตัวเอง ทำไมจึงไม่มองตัวเองในวินาทีแรก?ในขณะที่เรากำลังโกรธ ถ้าเราลองเอาจิตของเรามองความโกรธของเราเองทันที การมองจะเปลี่ยนสถานะของสิ่งที่ถูกมอง นั่นคือ ความโกรธจะลดลงทันที นี่คือหลักในการปฏิบัติธรรมถ้าอธิบายด้วยหลักของฟิสิกส์ควอนตัมก็คือว่าผู้สังเกตได้ไปจับสิ่งที่สังเกตให้หยุดนิ่งจนมันเปลี่ยนสถานะ ตัวอย่างเช่น เรากำลังร้องเพลงคาราโอเกะอย่างสนุกสนานกับเพื่อนๆ ทันทีนั้นเรานึกถึงตัวเองว่าเรามาทำบ้าอะไรอยู่ที่นี่ ลูกกำลังอดข้าวอยู่ที่บ้านยังจะมาร้องเพลงอยู่อีกหรือเห็นอะไรไหม? จิตเปลี่ยนไปเลยใช่หรือไม่?เพราะผู้สังเกตได้เปลี่ยนสิ่งที่ถูกสังเกตนั่นก็คือเปลี่ยนตัวเอง เหมือนกับการปฏิบัติกรรมฐาน หลายคนพอนั่งกรรมฐานทีไรฟุ้งซ่านทุกที ลืมกำหนดหายใจเข้า หายใจออก คิดเตลิดไปไหนก็ไม่รู้ เห็นภาพอะไรเต็มไปหมด อาจารย์สอนว่า เวลาจิตคิดฟุ้งซ่านให้กำหนดรู้ว่าฟุ้งหนอ ฟุ้งหนอ เรากำลังฟุ้งคิดอะไรให้รู้ทันว่ากำลังคิด พอเราเอาจิตไปมองจิตที่กำลังฟุ้ง มันจะหยุดกระแสของความฟุ้งซ่านทันที เพราะผู้สังเกตมีผลกระทบต่อสิ่งที่ถูกสังเกต ถ้าเวลาที่เราโกรธ เรามีสติกำหนดรู้ว่าเรากำลังโกรธ ความโกรธจะลดลงทันที ตรงกับหลักการแห่งความไม่แน่นอน (Uncertainty Principle) ที่ผู้สังเกตมีผลกระทบต่อสิ่งที่ถูกสังเกต เราเอาใจมองใจ ใจที่มองจะมีผลกระทบต่อใจที่ถูกมอง แต่สิ่งสำคัญก็คือ ต้องมีสติทันที เช่นพอโดนด่าว่าแล้วเกิดความโกรธ เราย้อน มองตัวเองทันทีว่าทำไมต้องโกรธ พอเรามองดูความโกรธเท่านั้น ความโกรธก็จะเจือจางลงทันที ปัญหาก็คือ เราไม่ได้ฝึกสติ สติจึงมาไม่ทัน เราก็เลยสติแตกเสียเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นถ้าสติมาปัญญาก็เกิด คือเห็นตัวเองตามความเป็นจริง แต่ถ้าสติเตลิด มักเกิดปัญหา เพราะฉะนั้นในการปฏิบัติธรรมเราต้องฝึกมองด้านในคือมองตน ดังคำกลอนที่ว่า โลกภายนอกกว้างไกลใครๆ รู้ โลกภายในลึกซึ้งอยู่รู้บ้างไหม จะมองโลกภายนอกมองออกไป จะมองโลกภายในให้มองตน โลกภายนอกในระดับมหภาคขึ้นอยู่กับกฎแห่งเหตุผลในฟิสิกส์ดั้งเดิม แต่โลกภายในอะตอมระดับจุลภาคขึ้นอยู่กับหลักการแห่งความไม่แน่นอนในฟิสิกส์ควอนตัม การที่พระพุทธศาสนาสอนให้มองด้านใน เราก็มองให้เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาภายในจิตใจวิปัสสนากับควอนตัม วิปัสสนาเป็นวิธีมองโลกที่ช่วยให้เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา คือสอนให้ใช้จิตมองจิตของเรา การมองจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเรา เราสามารถปลี่ยนความคิดให้บริสุทธิ์ขึ้น นั่นคือทำจิตให้บริสุทธิ์ผ่องใสเป็นสจิตปริโยทปนะคือทำจิตของเราให้ผ่องใส เราจะทำจิตผ่องใสได้ก็ต่อเมื่อผู้มองมีผลกระทบต่อกระแสจิตที่ถูกมอง ฟิสิกส์ควอนตัมศึกษาความจริงที่คนทั่วไปยากที่จะเข้าใจเพราะโครงสร้างอะตอมนั้นเล็กมากขนาดที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า พระพุทธศาสนาก็เช่นเดียวกัน คือ ศึกษาเรื่องจิตที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ซึ่งยากที่จะเข้าใจถ้าไม่ฝึกปฏิบัติการค้นพบของฟิสิกส์ควอนตัมช่วยสนับสนุนหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาในเรื่องของ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เมื่อเรามองเห็นสิ่งต่างๆ ว่าไม่แน่นอนเช่นเดียวกับหลักการแห่งความไม่แน่นอน เราจะไม่ยึดมั่นถือมั่น แม้แต่คนที่เราคบหามานานก็ต้องเปลี่ยนไปเพราะมีเหตุปัจจัยมากมายที่ทำให้เขาเปลี่ยนไป เมื่อเราไม่สามารถที่จะรู้เหตุปัจจัยเหล่านั้นทั้งหมด เราก็ต้องทำใจยอมรับความไม่แน่นอน ตามหลักการแห่งความไม่แน่นอน นั่นคือตามหลักอนิจจัง คือความไม่เที่ยงในพระพุทธศาสนา เหตุนี้คำสอนของพระพุทธศาสนาในหลายเรื่องจึงมีลักษณะเป็นเงื่อนไข เราไม่อาจฟันธงลงไปว่าต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ เวลาที่เรามองเห็นสรรพสิ่งเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ มันเป็นอย่างนั้นในตัวของมันเองหรือเราคิดไปเอง บางทีสรรพสิ่งที่เราเห็นนั้น มันไม่ได้เป็นอย่างที่เราคิดหรือเราเข้าใจ มุมมองของเราต่างหากไปจัดให้มันเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ในฟิสิกส์ควอนตัม เมื่อมองในมุมหนึ่ง เราจะเห็นว่าส่วนประกอบของอะตอมเป็นอนุภาค(Particle) เมื่อมองในอีกมุมหนึ่ง เราจะเห็นเป็นคลื่น(wave) ของสิ่งเดียวกันจึงมีสองลักษณะตามมุมมองของเรา ในทำนองเดียวกัน สิ่งที่เราเห็นในปัจจุบันอาจจะมีทั้งคุณและโทษก็ได้ นั่นขึ้นอยู่ที่ว่าเรามองสิ่งนั้นในมุมไหนโลกเป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับมุมมองของเรา ความจริงจึงเป็นเรื่องสัมพัทธ์ มันไม่ได้จริงในตัวมันเอง มันสัมพันธ์กับมุมมองของผู้มอง ดังที่ทฤษฎีสัมพัทธ์ของไอน์สไตน์ถือว่ากาลเวลาขึ้นอยู่กับจุดของผู้สังเกตการณ์ เหมือนกับที่เราพูดถึงองค์ประกอบของอะตอมว่าเป็นอนุภาคหรือคลื่นก็แล้วแต่มุมมองของเรา เพราะฉะนั้นโลกที่เรารับรู้จึงไม่ได้เป็น “ปรวิสัย”ทั้งหมด บางอย่างเป็น ”อัตวิสัย” คือเป็นโลกแห่งประสบการณ์ที่เราสร้างขึ้น ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสกับโรหิตัสสะเทพบุตรว่า “เราบัญญัติโลก เหตุให้เกิดโลก ความดับโลก ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับโลก ในกายอันยาววาหนึ่ง มีสัญญา มีใจครอง”ในพุทธพจน์นี้ โลกก็คือโลกแห่งประสบการณ์ของแต่ละคน ในปรัชญาปรากฏการณ์วิทยา (Phenomenology) เราเรียกโลกแห่งประสบการณ์ว่า “Lived World” คือโลกที่เราอยู่ หมายถึงโลกแห่งประสบการณ์ของเรา ไม่มีโลกแบบปรวิสัย มีแต่โลกที่เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างเราผู้มองกับสิ่งที่ถูกมอง เราให้ความหมายแก่โลกรอบตัวเราต่างกันไป ความหมายสำหรับโลกของเราย่อมต่างจากความหมายที่คนอื่นให้แก่โลกของเขา ดังเช่น ภูเขาสวยงามสำหรับนักท่องเที่ยวอย่างเรา แต่ภูเขาเดียวกันนั้นเป็นความท้าทายสำหรับนักปีนเขาหรือเป็นขุมทรัพย์สำหรับพวกต้องการระเบิดหินไปสร้างถนน เพราะฉะนั้น หน้าที่ของจิตก็คือการให้ความหมายแก่โลก (Meaning-giving activity) และข้อสำคัญก็คือ เราจะให้ความหมายแก่โลกภายนอกตัวเราอย่างไร นั่นขึ้นอยู่กับตัวเราเอง โลกภายนอกเป็นอย่างไรไม่สำคัญสำหรับเรา ที่สำคัญคือเราตีตราหรือกำหนดความหมายให้คุณค่าแก่มันอย่างไรต่างหาก ถ้าเราตกอยู่ใต้อำนาจกิเลสตัณหา เราก็ตีค่าสถานการณ์ไปทางหนึ่ง แต่ถ้าเรามีธรรมประจำใจ เราก็ให้ความหมายแก่โลกไปอีกทางหนึ่งธรรมะประจำใจช่วยสร้างกรอบในการมองโลกและให้ความหมายแก่โลกในทางสร้างสรรค์ ถ้าเรามองโลกด้วยเมตตา (ความรัก) และกรุณา (ความสงสาร) เราก็สามารถที่จะมองคนในแง่ดีและอยู่ร่วมกันอย่างสันติได้ ดังเช่นคนที่กำลังมีความรักย่อมมองโลกสดใสงดงาม แต่คนที่มองโลกด้วยความโลภ ความโกรธและความหลง โลกของเขาก็จะมีแต่ความเร่าร้อน ดั้งนั้น “สุข” หรือ “ทุกข์” จึงชึ้นอยู่กับวิธีที่เรามองโลกหรือให้ความหมายแก่โลกแห่งประสบการณ์ของเรา ดังบทกลอนที่ว่าสุขและทุกข์อยู่ที่ใจมิใช่หรือ ถ้าใจถือก็เป็นทุกข์ไม่สุขใส ถ้าไม่ถือก็ไม่ทุกข์พบสุขใจ เราอยากได้ความสุขหรือทุกข์นา ไม่ว่าจะเป็นพระพุทธศาสนาเถรวาทของเราที่สอนเรื่องวิปัสสนา หรือเป็นพระพุทธศาสนามหายานที่สอนสมาธิแบบเซนต่างก็บอกวิธีมองโลกแบบเดียวกัน คือมองโลกให้เห็นศูนยตาหรือความว่างในสรรพสิ่ง ศูนยตาในมหายานก็คืออนัตตาในเถรวาทนั่นเอง สรรพสิ่งเป็นอนัตตาคือไม่มีแก่นสารก็เพราะมันเป็นศูนยตาคือว่างจากแก่นแท้ถาวร เมื่อใดจิตใจของเราหยุดปรุงแต่ง เราก็จะเห็นความว่างในจักรวาล ปริศนาธรรมหรือโกอานของพระพุทธศาสนานิกายเซนสอนให้เรามองโลกแบบศูนยตาคือว่างจากการปรุงแต่งที่ใจเราสร้างขึ้น พระพุทธศาสนาเถรวาทเรียกการมองโลกแบบนี้ว่า ยถาภูตญาณทัสสนะ แปลว่ารู้เห็นตามความเป็นจริง ปริศนาธรรมส่งท้ายพระพุทธศาสนานิกายเซนตั้งปริศนาธรรมไว้ว่า เสียงปรบมือของมือสองข้างดังอย่างไรไม่ถาม แต่อยากทราบว่าเสียงของมือข้างเดียวดังอย่างไร ตอบว่า เสียงของมือข้างเดียวคือความเงียบที่เกิดจากการไม่ปรุงแต่ง สรรพสิ่งเกิดขึ้นจากการมีปฏิสัมพันธ์กันเหมือนกับเสียงปรบมือของมือสองข้าง ดังกรณีที่เราผู้มองโลกให้ความหมายแก่โลก หรือกรณีที่ปฏิสัมพันธ์ของอะตอมก่อให้เกิดสรรพสิ่งขึ้นในโลก เมื่อไม่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างอะตอมก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้นในจักรวาลนี้ในเดือนกันยายน ๒๕๕๑ สถาบันฟิสิกส์ในเยอรมนีทดลองปล่อยให้โปรตอน 2 อนุภาควิ่งสวนกันด้วยความเร็วแสงในอุโมงค์ใต้ดินยาว 27 กิโลเมตร ถ้าโปรตอนชนกันก็จะเกิดพลังงานมหาศาล เรียกว่าเป็นการระเบิดครั้งใหญ่ (Big Bang) ขนาดย่อม ซึ่งจะช่วยไขปริศนาที่ว่าจักรวาลนี้ก่อกำเนิดขึ้นมาได้อย่างไร การทดลองที่นักวิทยาศาสตร์ทำให้โปรตอน 2 อนุภาคชนกันอย่างนี้ช่วยให้เข้าใจเรื่องกำเนิดของจักรวาล ความเข้าใจเรื่องอะตอมในฟิสิกส์ควอนตัมนำไปสู่การไขปริศนาความลับของกำเนิดจักรวาล จากความรู้ในเรื่องจุลภาคนำไปสู่ความเข้าใจในระดับมหภาค ในทำนองเดียวกัน การรู้จักธรรมชาติของจิตใจของตนเองอย่างดีก็ทำให้พระพุทธเจ้าทรงเป็นโลกวิทูคือรู้จักโลกทั้งโลก เหมือนกับการที่เรารู้จักใบไม้หนึ่งใบเป็นอย่างดีก็ทำให้เรารู้จักใบไม้ในป่าทั้งป่า การศึกษาทำความเข้าใจฟิสิกส์ควอนตัมช่วยให้เราเข้าใจพระพุทธศาสนาในมุมองใหม่ได้มากขึ้น แม้จะมีความแตกต่างระหว่างพระพุทธศาสนากับฟิสิกส์ควอนตัมอยู่บ้าง ความแตกต่างนั้นมีแต่จะทำให้เราเกิดความสนใจว่าทำไมจึงต่างกัน ทั้งนี้เพราะเหตุผลที่ว่า ผู้ที่เหมือนกันย่อมจะคบหากัน ผู้ที่แตกต่างกันย่อมจะสนใจกัน
พระธรรมโกศาจารย์(ประยูร ธมฺมจิตฺโต)
อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

อุเบกขา ให้เชื่อกรรมผลของกรรม (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)

อุเบกขา ให้เชื่อกรรมผลของกรรม (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)

อุเบกขาคือ ภาวะของจิตที่มีอาการเป็นกลางเห็นเสมอกันในสัตว์ บุคคลทั้งหลาย ในคราวทั้งสองคือในคราวประสบสมบัติ และในคราวประสบวิบัติ ไม่ยินดียินร้าย มองเห็นว่าทุกๆ คนมีกรรมที่ทำไว้เป็นของของตน จะมีสุข จะพ้นทุกข์ จะไม่เสื่อมจากสมบัติที่ได้เพราะกรรม จึงวางเฉยได้ คือวาง ได้แก่ไม่ยึดถือไว้ วางลงได้ เฉย คือไม่จัดแจงวุ่นวาย ปล่อยให้เป็นไปตามกรรมหรือตามกำหนดของกรรม อุเบกขานี้เป็นพรหมวิหารธรรมอีกข้อหนึ่ง เป็นข้อสุดท้าย ที่พึงอบรมให้มีขึ้นในจิต วิธีอบรม คือ ระมัดระวังใจมิให้ขึ้นลง ด้วยความยินดียินร้าย ทั้งในคราวประสบวิบัติ เมื่อภาวะของจิตเช่นนั้นเกิดขึ้น ก็พยามระงับใจ หัดคิดถึงกรรมและผลของกรรมรับผิดชอบเอาไปเสีย เมื่อทำจิตให้อุเบกขาได้ ก็หัดแผ่จิตเช่นนี้ออกไปแก่คนอื่นสัตว์อื่นโดยเจาะจง หรือโดยไม่เจาะจงทั่วไปด้วยความคิดว่า “ทุกสัตว์ บุคคล มีกรรมเป็นของของตน เป็นทายาทรับผลของกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่อาศัย ทำกรรมอันใด ดีหรือชั่ว ก็ต้องรับผลของกรรมนั้น” อันที่จริงภาวะของจิตเป็นอุเบกขานี้ ย่อมมีอยู่เป็นสามัญธรรมดาในเวลาปรกติยังไม่มีอะไรมาทำให้เกิดความยินดียินร้าย แต่ยังเจือด้วยความไม่รู้ (อัญญาณ) และจะเปลี่ยนไปเป็นความยินดียินร้ายขึ้นได้โดยง่าย พระบรมครูสั่งสอนให้ปรับปรุงภาวะที่มีอยู่แล้วนี้แหละให้เป็นธรรมขึ้น คือ ให้เป็นคุณอันบริสุทธิ์ที่เกื้อกูลกว้างขวางออกไป มิใช่ในเวลาที่ไม่มีเรื่องอะไรมากระทบจิตเท่านั้น แม้มีเรื่องมากระทบจิตให้ยินดียินร้ายก็ระงับได้ ทำใจให้สงบเป็นอุเบกขาได้ด้วยความรู้ (ญาณ) เพราะว่าความยินดี (ราคะ) และความยินร้าย (ปฏิฆะ) เป็นศัตรูที่ห่างของอุเบกขา ส่วนอุเบกขาด้วยความไม่รู้ (อัญญาณุเบกขา) เป็นศัตรูที่อยู่ใกล้ของอุเบกขา ฉะนั้น ก็พึงยกตนขึ้นเป็นพยานหรืออุปมา ดังเช่นว่า ตนไม่ชอบให้อื่นมาเล็งชอบใจอยากได้อะไรของตน และไม่ชอบให้ใครอื่นมาหมายมั่นปองร้าย ฉันใด ตนก็ไม่ควรจะไปคิดยินดียินร้ายดังนั้นแก่คนอื่น ควรจะมีใจมัธยัสถ์คือเป็นกลางฉันนั้น
: ศีลและพรหมวิหาร ๔ : สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
ที่มา : http://www.agalico.com/board/showthread.php?t=16366

วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ธรรมะ หลวงปู่แหวน

อดีตเป็นธรรมเมา อนาคตเป็นธรรมเมา จิตดิ่งอยู่ในปัจจุบัน รู้ในปัจจุบัน ละในปัจจุบัน ตัดตัณหา ตัดกิเลส ตัดมานะทิฐิ ตัดความยึดมั่นถือมั่นของตนให้เสร็จลงก็สงบได้อดีตมันล่วงไปแล้วไม่ต้องคำนึงถึง ถือเอาบุญเอาบาปในปัจจุบัน เราทำบุญทำบาป บุญบาปอันนี้แหละพาหมุนไปในปัจจุบัน อดีตผ่านไปแล้วเป็นมาแล้วอย่าไปคำนึงถึงเอามาเป็นอารมณ์ อดีต อนาคตตัดออกให้หมด “อตฺตาหิ อตฺตโน นาโถ” ตนแลเป็นที่พึ่งของตนให้ตั้งอยู่ในพระไตรสรณคมณ์ตลอดชีวิตเอาพุทโธเป็นมรรคเป็นอารมณ์ของใจ มี พุทโธ ธัมโม สังโฆเป็นอารมณ์ของใจอย่าให้เป็นธรรมเมา เมาคิด เมาอ่าน เมาอดีต เมาอนาคต ใช้การไม่ได้ ตัดอดีต อนาคตลงให้หมด จิตดิ่งอยู่ในปัจจุบันรู้ในปัจจุบัน ละในปัจจุบัน วางในปัจจุบัน แจ้งอยู่ในปัจจุบัน ตั้งความสัตย์ลงไปว่า เวลานี้เราทำจิตทำใจให้สงบ อย่าไปคิด อดีต อนาคตผ่านไปแล้ว เอาปัจจุบันนี้แหละเป็นที่ตั้งหลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ

วันเสาร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ภาษาพิมาย(โคราช) วันละคำ : ชะบุ๋น

ชะบุ๋น อ่านว่า ฉะ - บุ๋น แปลว่า เดชะบุญ
คำนี้น่าจะมาจากคำว่า เดชะบุญ ซึ่งเป็นคำภาษาไทยกลาง เป็นคำพูดที่ชาวเรามักจะพูดในกรณีที่เกิดเหตุการณืบางอย่าง ซึ่งควรที่จะเลวร้ายหรือรุนแรง แต่เดชะบุญเหตุการณ์ดังกล่าวกลับเบาบางหรือไม่รุนแรงจนเกินไป เช่น วันนี้มีรถเกิดอุบัติเหตุชนกันหลายคันเนื่องจากขับมาด้วยความเร็วสูง เดชะบุญเราขับมาด้วยความเร็วต่ำอย่างระมัดระวังจึงเหยียบเบรคทัน เลยไม่ชนต่อท้ายคันอื่น
ส่วนภาษาพิมาย โคราช ผมสัณนิษฐานว่าคงจะตัดคำให้สั้นลง และออกเสียงสำเนียงพิมาย ซึ่งมักจะออกเสียงสูงเสียงจัตวา จึงออกเสียงป็น ฉะ - บุ๋น ซึ่งลักษณะการตัดคำให้สั้นเช่นนี้มีมากมายหลายคำและออกเสียงสำเนียงพิมาย ซึ่งผมจะนำมาเขีบนให้อ่านในโอกาสต่อไป
ขอบคุณครับ
จาก เกียรติ หลานย่าโม

วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ชีวิตข้า...ข้าขีดเอง

ชีวิตข้า พ่อแม่ให้ ฟ้าไม่เกี่ยว
มีหนึ่งเดียว ข้าลิขิต ชีวิตข้า
แม้โชคดวง บุญกรรม เคยทำมา
ฤาจะสู้ ความมานะ ที่ข้ามี
อุปสรรค ขวางหน้า ข้าไม่หวั่น
จะฝ่าฟัน สู้ต่อไป ไม่ถอยหนี
สักวันคง ได้ประสบ พบเปรมปรีดิ์
รางวัลนี้ ข้าลิขิต ชีวิตเอง

แม้เกิดในตระกูลชาวนา แต่ฉันเกิดมาเพื่อเป็นผู้นำ

ลิขิต เกียรติก้องฟ้า

คิดถึง

แด่...ที่รักของฉัน

คิดเอ๋ย คิดถึง
จากห้วงคำนึงเสน่หา
คิดถึงทุกวันเวลา
อยากบอกว่า ฉันรักเธอ

อยากเอ๋ย อยากไป
อยากอยู่ใกล้ๆ เธอ...เสมอ
หัวใจถวิลหาอยากพบเจอ
เพียงพร่ำเพ้ออยู่ในใจ

ย่างเดือนพฤศจิ..แล้วหนอ
ลมหนาวเริ่มเคลียคลอ ชิดใกล้
ฉันคิดถึง..อยากกอดเธอไว้แนบกาย
จนกว่าชีพจะวางวายจากกัน

อยากเอ๋ย อยากให้
สองดวงหฤทัยมีสุขสันต์
สองใจสองเราเฝ้าผูกพัน
ชั่วนิจนิรันดร์ตลอดกาล

คิดถึง...เสมอ

เกียรติ กวีศิลป์

วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ไฟล้างโลกและพระศรีอาริย์ตรัส

ไฟล้างโลกและพระศรีอาริย์ตรัส


เรื่องรู้เลยตาย : ไฟล้างโลก และพระศรีอาริย์ตรัส (บันทึก เมื่อวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๒) ธรรมปฏิบัติเล่ม 12 โดย...หลวงพ่อพระราชพรหมยาน(พระมหาวีระ ถาวโร)
ความจริงเรื่องรู้เลยตาย หรือรู้ก่อนเกิดนี้ ฉันเองไม่ใคร่อยากจะพูด และไม่อยากจะเชื่อถือนัก เพราะดูแล้วมันเลยธงไปไม่น้อยเลย แต่มาอ่านหนังสือเล่มหนึ่ง คนเขียนๆ เรื่องรู้เลยตาย และรู้ก่อนเกิดไว้มากมาย เช่น รู้ว่า เมื่อสิ้นศาสนานี้แล้ว ไฟบันลัยกัลป์จะไหม้ถึงภวคพรหม ดูเรื่องมันมากมายนัก ฉันสงสัยไม่หายว่า ไฟอะไรจะดันไปไหม้แม้แต่เทวดาและพรหม ดูมันพิลึกพิลั่นมากมายเกินพอดี เมื่ออารมณ์สงสัยเกิดขึ้น ฉันก็อดที่จะอยากรู้ความจริงไม่ได้ ในที่สุดคืนของวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๒ นนทากับ ประสบสุข มาฝึกกรรมฐาน ฉันนั่งคุมกรรมฐาน ความสงสัยเรื่องรู้เลยธงเกิดขึ้นมาขวางจิต จึงถามท่านผู้รู้ที่เป็น สัพพัญญูวิสัย ท่านทรงพยากรณ์ให้ทราบดังนี้
หลังสิ้นพระพุทธศาสนา : หลังจากกึงพุทธกาลไปแล้ว ๔,๐๐๐ ปี (เลยพุทธศาสนาครบ ๕,๐๐๐ ปีไปอีก ๑,๕๐๐ ปี) จะมีไฟล้างล้างโลก ล้างแต่มนุษย์เท่านั้น ไม่ลามไปถึงเทวดา ท่านบอกว่า ความชั่วที่จะเป็นเหตุให้ไฟล้างนั้น เป็นผลของสัตว์ที่สร้างอกุศลกรรมมาก มารวมกันอยู่ เป็นสมัยสัตว์นรกครองโลก มีแต่ความเร่าร้อน หาความสงบสุขไม่ได้ ความจริงแล้วมันเริ่มมีความเร่าร้อนตั้งแต่ก่อนกึ่งพุทธกาล ๑๕ ปีแล้ว จากนั้นไป พวกอธรรมเกิดมาก มีอำนาจวาสนามาก ทำให้ความสงบสุขไม่มี เพราะพวกอธรรมเป็นพวกเห็นแก่ตัว มากกว่าเห็นแก่ส่วนรวม
หลังจากไฟล้างโลกแล้ว : โลกจะร้างไม่มีต้นหญ้ากอไม้ แม้แต่น้ำในมหาสมุทรก็ไม่มีไปครบ ๑,๐๐๐ ปี หลังจากนั้นแล้วจะมีฝนใหญ่ตกลงในมนุษย์โลก แม่น้ำและมหาสมุทรจะเต็มไปด้วยน้ำ พื้นโลกจะชุ่มชื้น ต้นหญ้า ต้นไม้ จะเริ่มงอกงามขึ้นเป็นลำดับ จนโลกทั้งโลกกลายเป็นป่าไม้
หลังจากที่โลกเขียวชอุ่ม ไปด้วยต้นหญ้าใบไม้นั้น : ทิ้งระยะนาน ๑ หมื่นปี สัตว์โลกเริ่มเกิด สัตว์และคนที่มาเกิดยุคต้นนั้น ไม่ได้อาศัยบิดามารดาเป็นแดนเกิด มาเกิดแบบ อุปปาติกะ คือ มาเกิดด้วยอำนาจกรรม คือเป็นตัวคนขึ้น จะยังไม่มีพระอาทิตย์ พระจันทร์ส่องแสง มีแสงเกิดจากอำนาจบุญของแต่ละคน คือมีแสงสว่างออกจากตัวเองเป็นสำคัญ เรื่องอาหารนั้นนระยะแรกยังไม่ต้องการอาหาร มีความอิ่มด้วยธรรมปิติ เพราะแต่ละคนที่มาเกิด ล้วนแล้วแต่มาจากเทวดาหรือพรหมทั้งนั้น ไม่มีสัตว์นรกหรือเปรตเจือปน โลกจึงเต็มไปด้วยความสุข หาความทุกข์ไม่ได้ นอจากกฏธรรมดา คือ ความเสื่อมของสังขาร เรื่องการทะเลาะยื้อแย่งไม่มี คนทุกคนเป็นคนสวยหมด ผิวเหลือง เนื้อละเอียดทั้งหญิงและชาย มีแต่คนรวย ไม่มีคนจน มีแต่คนใจบุญ ไม่มีใครใจบาป
พระศรีอาริย์มาตรัส : เมื่อโลกมีมนุษย์ และสัตว์บริบูรณ์ มีดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์แล้ว ระยะเวลานับแต่มีสัตว์โลกเกิดในโลก เวลาล่วงมาได้ล้านปี คนสมัยนั้นีอายุครองตนได้ ๔ หมื่นปีเป็นอายุขัย ท่านว่าตอนนั้นพระศรีอาริย์จะมาตรัสเป็นพระพุทธเจ้า เขตที่ท่านลงมาตรัสสมัยปัจจุบันเรียกว่า เขตเมืองพม่า
คณะคอยพระศรีอาริย์ : คนกลุมหนึ่ง ที่บำเพ็ญบารมีคอยพระศรีอาริย์ ตามปฎิญญาที่ให้ไว้หลายพุทธสมัยนั้น ท่านหัวหน้าทรงนามว่า "โกสีห์" จะสร้างเมืองแถวด้านเหนือของเมืองพม่า เรียกว่า เชียงตุง ปัจจุบัน ให้ชื่อเมืองว่า สีหนคร รวบรวมลูกหลานทั้งหมดมาร่วมบำเพ็ญกุศล และเป็น อุปฐากใหญ่ ของพระศาสนา ในที่สุดก็นิพพานทั้งตระกูล
ในศาสนาพระศรีอาริย์ : เรื่องพระศรีอาริย์นี้ เวลานี้ชักยุ่งมากทีเดียว เพราะไม่ว่าไปทางไหน ก็พบพระศรีอาริย์เกลื่อนไปหมด ที่โน่นก็พระศรีอาริย์ ที่นี่ก็พระศรีอาริย์ เล่นเอาชาวบ้านอานกันเป็นแถว เพราะอยากเป็นบริวารพระศรีอาริย์ ส่วนพวกร้านค้าก็บอกว่า ระหว่างนี้เข้ายุคภาษีอาน ฟังแล้วคล้ายๆ กัน....ฯลฯ
มาพูดกันเรื่อง พระศรีอาริย์กันดีกว่า เรื่องภาษีอานนั้นพูดไม่ออกแล้ว พอใจหรือไม่พอใจก็ต้องเสีย เป็นเรื่องของยุคทมิฬ ห้ามพูด เมื่อบ้านเมืองยุ่ง ทางกลุ่มศาสนาก็พลอยกลุ้ม เพราะเมื่อมีความเดือดร้อน ชาวบ้านก็อยากพบพระศรีอาริย์ เพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุข คราวนี้เองเป็นเหตุให้พระศรีอาริย์อวตาร หรือโงนเงนเหมือนต้นตาลลงมาไม่ทราบ เกิดมีพระศรีอาริย์โผล่หน้ามาพร้อมกันหลายองค์ อยู่ตามถ้ำ ตามเขาบ้าง ตามกลุ่มชนในชนบทบ้าง ไม่รู้ว่าอวตารลงมาอย่างไรพร้อมกัน ในยุคเดียวกันตั้งหลายอาน บางรายก็สวดด่อน เขาว่าอย่างนั้น ไม่รู้เหมือนกันว่าเขาสวด เขาสวดกันอย่างไร บางรายเฉพาะที่เขาตะพาบ เมืองอุทัย เห็นสวดดะไม่ใช่สวดด่อน ที่เมืองลพบุรีก็มี รายนั้นทำงานมงคล นิมนต์พระผีมาสวดเป็นแถว เห็นตั้งอาสนะไว้ แต่ไม่เห็นมีพระ มีคนเขาบอกว่าท่านนิมนต์หลวงพ่อศุข หลวงพ่อปาน หลวงพ่อแช่ม ฯลฯ และอีกหลายท่าน ให้มาสวดมนต์ ในงานยกธงธรรมจักร นิมนต์พระผีมานี่ ลดค่าครองชีพดีมาก ท่านสวดมนต์ก็เสียงไม่ดัง นั่งก็ไม่เปลืองที่ เลี้ยงอาหารก็ไม่เปลือง สบายใจดีแล เรื่องอย่างนี้มันเป็นไปไม่ได้ นอกจากจะโกหกเพื่อหวังลาภผลเท่านั้นเอง เอาอะไรเป็นจริงเป็นจังไม่ได้ ขึ้นไปบนสวรรค์ทีไร พบพระสรีอาริย์ทุกคราว แถมท่านบอกมาด้วยว่า "ที่เข้าทรง และว่าฉันไปนั้น ฉันไม่เคยไปเลย" เรื่องก็จบเพียงแค่นี้

ต่อไป มาพูดกันถึงศาสนาพระศรีอาริย์กันดีกว่า ท่านว่า ศาสนาของท่านนั้น มีผลดังนี้

๑. คนสวยทุกคน มีผิวเหลือง เนื้อละเอียด คนแก่ที่สุด มีทรวดทรงเท่ากับคนอายุประมาณ ๒๐ ปีเศษสมัยนี้เท่านั้นเอง อายุคนสมัยนั้นท่านว่ามีอายุถึง ๔ หมื่นปีเป็นอายุขัย

๒. สมัยของท่าน ไม่มีคนจน มีแต่คนรวย มีต้นไม้สารพัดนึกอยู่ในที่ทุกสถาน สัตว์นรก เปรต อสุรกาย มีจิตใจชั่วร้าย ยังไม่มีโอกาสเกิดในสมัยของพระองค์ ท่านที่จะไปเกิดที่นั้น ต้องเป็นเทวดา หรือพรหมเท่านั้น โลกจึงมีแต่ความสุข ไม่มีตำรวจทหาร มีแต่พ่อบ้านแม่เรือน

๓. การสัญจรไปมาสะดวกสบาย ไปไหนก็พายเรือตามน้ำ

๔. คนเข้าถึงธรรมทุกคน ท่านว่าคนที่เจริญสมถะพอมีญาณ หรือมีวิปัสสนาญาณบ้างพอสมควรจะเข้าถึงธรรมพิสมัยได้โดยฉับพลัน คือเป็นพระอริยเจ้า คนที่ได้อริยะต้นแล้ว จะเข้าถึงอรหัตผลได้โดยฉับพลัน

คนที่ทำบุญไว้น้อย คือฟังคาถาพัน และปฏิบัติตามแต่ไม่สมบูรณ์ อย่างต่ำก็เข้าถึงสรณคมน์ อย่างสูงก็ได้อริยะ ที่เป็นอย่างนี้เป็นเพราะท่านบำเพ็ญบารมีถึง ๑๖ อสงไขย กำไรแสนกัป ท่านบำเพ็ญบารมีมาก คนเลวจึงเข้าแทรกแซงในศาสนาของพระองค์ไม่ได้ น่าเกิดจริงๆ

เรื่องกระจุ๋มกระจิ๋มอย่างนี้อย่างนี้ เขียนไว้ให้อ่านเล่น จริงหรือไม่จริง ไม่มีผลที่จะพิสูจน์ได้ด้วยตำรา ต้องอาศัยฌานและญาณช่วยจึงจะทราบผลแน่นอน ถ้าวิริยะอุตสาหะแล้ว ไม่ช้าก็พากันมีความรู้สึกที่จะพิสูจน์ได้ ฟังไว้แต่อย่าเชื่อ และอย่าเพิ่งปฏิเสธ จนกว่าเราจะมีฌานและญาณพอจะพิสูจน์ได้ สำหรับเรื่องนี้ขอยุติเท่านี้