วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

เยี่ยมไร่ชั่งหัวมัน มหัศจรรย์สู้แล้ง

ฟอร์เวิร์ดเมล์ ไม่ทราบนามผู้เขียน จั่วหัวว่า "ชั่งหัวมัน...โครงการตามพระราชดำริ" หลายคนที่มีโอกาสได้อ่าน พูดเป็นเสียงเดียวกัน ทำให้หัวใจรู้สึกอบอุ่น ชุ่มชื่นอย่างบอกไม่ถูก ได้กลับบ้านเกิดในวันหยุดยาววันพ่อ คุณพ่อก็ชวนขับรถเที่ยวอำเภอเล็กๆ ในจังหวัดเพชรบุรี อย่างอำเภอท่ายาง ไม่ได้มีที่เที่ยวน่าสนใจไปกว่า ชะอำ หัวหิน จึงนึกไม่ออกว่าจะขับรถไปเที่ยวที่ไหนได้อีกนอกจากสองที่นั้นคำเชิญชวนต่อมาของพ่อ ชวนให้รู้สึกสนใจขึ้นไปอีก เพราะพ่อบอกว่า "ไปดูไร่ที่ในหลวงซื้อเอาไว้ไหม"พ่อเล่าต่อว่า ไร่นั้นอยู่ห่างไกลความเจริญ ถนนลาดยางยังเข้าไม่ถึง ไฟฟ้าไม่มี แต่พระองค์ท่านทรงปลูกบ้านอยู่ที่นั่นเรียบร้อยแล้ว"บ้านมีสองหลัง หลังแรกของในหลวง หลังที่สองของพระเทพฯ ราชการทูลเกล้าฯถวายเลขที่บ้าน เลขที่ 1 กับเลขที่ 2" ฟังทีแรกก็ไม่เข้าใจว่า พระองค์ท่านจะไปซื้อที่ดินในที่ทุรกันดาร แถมยังปลูกบ้านไว้ที่นั่นทำไม ในเมื่อปัจจุบันพระองค์ท่านก็อยู่ที่หัวหินเป็นกิจจะลักษณะแล้วแถมพ่อยังบอกอีกว่า ขับรถเข้าไปในที่ดินได้เลยนะ ทหารเขาให้เข้า...ก็ยิ่งงงเข้าไปใหญ่ เราจะเข้าไปขับรถเล่นในเขตพระราชฐานกันได้ยังไง จากตัวอำเภอท่ายาง ขับเลี้ยวเข้าไปทางตำบลเขากระปุก ถนนเริ่มเล็กลงเรื่อยๆ สองข้างทางเต็มไปด้วยไร่นา"นั่งมองต้นไม้ไปได้สักครู่ สองข้างถนนก็เริ่มมีธงชาติ ธงเหลือง ธงฟ้า และธงม่วง พร้อมตราสัญลักษณ์ของแต่ละพระองค์ (ราชาศัพท์เรียกอะไร?) ติดเต็มไปตลอดทาง"ดูจากเสาธงก็รู้ว่าเป็นธงที่ชาวบ้านช่วยกันทำขึ้นอย่างตั้งใจเพื่อรับเสด็จ ข้างๆ ธงมีร่องรอยตะเกียงน้ำมันอย่างง่าย...หรืออาจเรียกได้ว่าคบไฟ"ใจของผมคิดว่า ชาวบ้านคงทำไว้เพื่อรอรับเสด็จในเวลากลางคืน" ยิ่งขับรถมาไกล ลึกวนเข้าไปเหมือนจะถึงชายเขา แต่ทั้งธงและคบไฟก็บ่งบอกได้ว่า...ข่าวของพ่อไม่ผิด เรากำลังใกล้ไร่ของในหลวงเข้าไปทุกขณะนริศในขณะที่นั่งชมทิวธงและคบไฟไปได้จนเริ่มง่วง ถนนลาดยางก็เปลี่ยนเป็นถนนลูกรัง ฝุ่นคลุ้งตลบ แต่เราคงมาไม่ผิดทางแน่ เพราะทิวธงยังคงอยู่ มองไปแต่ไกลเห็นภูเขาขนาดย่อมอยู่ตรงหน้า กังหันผลิตไฟฟ้าประมาณสิบกว่าต้น สูงเด่น มีรถทะเบียนกรุงเทพฯวิ่งสวนมาเป็นระยะ ฝุ่นฟุ้งกระจายเต็มถนนแคบรั้วลวดหนามทอดตัวยาวไกล ต้นไม้หลากหลายชนิดเรียงตัวเป็นระเบียบอยู่ในนั้น เขื่อนดินขนาดใหญ่ พร้อมศาลาเก้าเหลี่ยมสูงเด่น "เราเดินทางมาถึงไร่ของในหลวงกันแล้ว"แลกบัตรที่ป้อมทหารทางเข้าเรียบร้อย เลี้ยวรถเข้าไป...ก็ถึงบางอ้อ ที่ดินจากพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ที่ว่า ไม่ใช่ไร่ที่ซื้อเอาไว้หลบหนีความวุ่นวายในเมืองหลวง หรือใช้ตากอากาศ แต่มันคือที่ดินเพื่อใช้เป็นโครงการในพระราชดำริ ที่มีชื่อมันๆว่า... "โครงการชั่งหัวมัน"ดูจากวันที่ตั้งโครงการ ระบุว่า วันที่ 1 สิงหาคม 2552 คาดว่า...น่าจะเป็นโครงการล่าสุดเลยทีเดียว "พอได้เดินเข้าไปในโครงการ บอกตรงๆว่ารู้สึกซาบซึ้งมาก เพราะไม่นึกว่าในหลวงที่เราเห็นในทีวี ยังมีพระทัย...มีไฟ ริเริ่มโครงการใหม่ๆในถิ่นที่อยู่ ห่างไกลความเจริญอยู่ตลอดเวลา ไม่มีหยุด" ผมว่านี่คือเรื่องราวดีๆ...ไม่กี่เรื่องในรอบปีที่ได้รู้ แล้วก็อยากเอามาเล่าต่อเอ่ยชื่อโครงการ "ชั่งหัวมัน" หลายคนอาจจะตีความไปต่างๆนานา ดิสธร วัชโรทัย รองเลขาธิการพระราชวัง ให้ข้อมูลถึงที่มาโครงการชั่งหัวมันว่า ครั้งพระเจ้าอยู่หัวประทับที่พระราชวังไกลกังวล ทรงมีพระประสงค์ ให้นำมันเทศที่ชาวบ้านนำมาถวาย วางไว้บนตาชั่งแบบโบราณ แล้วพระองค์เสด็จ พระราชดำเนินกลับกรุงเทพฯ "พอพระองค์เสด็จพระราชดำเนินกลับไปยังพระราชวังไกลกังวล จึงพบว่า มันเทศที่วางไว้บนตาชั่งมีใบงอกออกมา พระเจ้าอยู่หัวจึงรับสั่งให้นำหัวมันต้นนั้นไปแยกกระถางปลูกไว้ในวังไกลกังวล แล้วทรงมีพระราชดำรัสให้หาพื้นที่เพื่อทดลองปลูกมันเทศ"โครงการชั่งหัวมัน ตามพระราชดำริ เป้าหมายต้องการให้เป็นศูนย์รวมพืชเศรษฐกิจของ อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี โดยเลือกพันธุ์พืชท้องถิ่นที่ดีที่สุดเข้ามาปลูก โดยให้ภาครัฐกับชาวบ้านร่วมดูแลด้วยกัน เพื่อแลกเปลี่ยนแนวคิด ปลูกพืชสวนครัว อาทิ มะเขือเทศ มะเขือเปราะ พริก กะเพรา โหระพา มะนาวแป้น ผักชี ผลไม้...ก็มี สับปะรดปัตตาเวีย แก้วมังกร มะละกอแขกดำ มะพร้าวน้ำหอม มะพร้าวแก่ ชมพู่เพชรสายรุ้ง กล้วยน้ำว้า กล้วยหักมุก พืชเศรษฐกิจ ได้แก่ อ้อยโรงงาน มันเทศญี่ปุ่น มันเทศออสเตรเลีย มันต่อเผือก มันปีนัง หน่อไม้ฝรั่ง ข้าวเหนียวพันธุ์ซิวแม่จัน ข้าวเจ้าพันธุ์ข้าวหอม ข้าวเจ้าพันธุ์ลีซอ ข้าวเจ้าพันธุ์ข้าวขาว ยางนา ยางพารา ชมพู่เพชรดิสธร บอกว่า โครงการชั่งหัวมันเป็นการบริหารทรัพยากรแบบบูรณาการ โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้คุ้มค่ามากที่สุด ขณะเดียวกันก็พยายามเปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาส โดยคาดว่าอนาคตจะเป็นอีกแหล่งเรียนรู้ให้กับประชาชนโดยทั่วไปได้เข้าชมนริศ สมประสงค์ เจ้าหน้าที่งานในพระองค์ โครงการชั่งหัวมัน เสริมว่า แรกๆชาวบ้านสงสัยกันมาก ตั้งแต่ชื่อโครงการ...ชั่งหัวมัน "ชาวบ้านตีความชื่อโครงการกันพอสมควร แรกๆก็ตีความออกไปทางการเมือง พระองค์ท่านเบื่อแล้ว...ก็ต้องชี้แจงทำความเข้าใจว่า ไม่ใช่อย่างนั้น เหตุผลจริงๆคือหัวมันบนตาชั่งยังขึ้นได้ แล้วที่แห้งแล้งขนาดไหน มันก็ต้องขึ้นได้"ข้อสงสัยต่อมารวมไปถึงทำไมท่านมาซื้อที่ดินที่นี่ ซึ่งแห้งแล้งมากเหลือเกิน จะปลูกอะไรก็ลำบาก ติดปัญหาเรื่องน้ำราวเดือนกรกฎาคม ในหลวงเสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์ครั้งแรกผืนดินมีแต่ป่ายูคาลิปตัส ชาวบ้านก็ยังไม่รู้ว่าในหลวงท่านมาซื้อที่ดินผืนนี้เอาไว้นริศ บอกว่า เราทุกคนคงทราบ อะไรที่ยากลำบากท่านโปรด ท่านจะทำให้ดู พิสูจน์ว่า...ทำได้ เพื่อจะได้เป็นแม่บทในการที่จะทำ เหมือนเป็นศูนย์กลางเรียนรู้ด้านเกษตรกรรมของชาวบ้านที่นี่ชัดเจนว่าโครงการ "ชั่งหัวมัน" ชาวบ้านจะได้ประโยชน์อย่างเต็มที่"ผืนดินโครงการชั่งหัวมัน ได้รับความร่วมมือจากชาวบ้าน 2 ตำบล ตำบลกลัดหลวง ตำบลเขากระปุก มาช่วยกัน เกษตรอำเภอก็เข้ามาช่วยจัดสรรพื้นที่ ท่านดิสธรก็เข้ามาร่วมวางแผน จะให้ชาวบ้านปลูกอะไร..."ชั่งหัวมัน...อยากจะให้มีการร่วมมือร่วมแรงกันระหว่างชาวบ้าน ซึ่งทุกคนก็เต็มใจที่จะปลูกถวายให้พระองค์ท่าน เพราะอยากให้ท่านมีความสุขหน่อไม้ฝรั่ง ข้าวไร่ ข้าวโพด มะพร้าว แก้วมังกร กะเพรา พริก มะนาว ถูกจัดสรรลงแปลงปลูกอย่างรวดเร็ว เหมือนฝัน...ราวกับเนรมิต ทุกวันพฤหัสบดีจะมีการลงแขก ระดมชาวบ้านเพื่อมาดูแลแปลงผักที่จัดสรรเอาไว้ เก็บวัชพืช ส่วนเรื่องน้ำจะมีคนงานในไร่ ช่วยดูแลรดน้ำ เก็บพืชผล ส่งจำหน่ายที่ร้านโกลเด้นเพลส ทั้ง 7 สาขา...หัวหิน 2 สาขา กรุงเทพฯ 5 สาขาผลิตผลจากโครงการอีกส่วนหนึ่งก็จะถูกส่งไปที่ห้องเครื่อง วังสวนจิตรลดา และผลผลิตส่วนที่สาม ก็จะส่งไปที่ตลาดกลางการเกษตรอำเภอท่ายางวันนี้...ผลผลิตที่สร้างรายได้ให้มากที่สุด คือมะนาวพันธุ์พื้นเมือง "ในหลวงท่านทรงมีพระราชดำริว่า ไม่ต้องการให้ใช้สารเคมี หรือถ้าจะใช้ก็ใช้น้อยที่สุด มะนาวของพระองค์ท่าน ผิวจะไม่ค่อยสวย เรียกว่าเป็นมะนาวลาย แต่ผิวบางน้ำเยอะ เป็นที่ต้องการของตลาด...สนนราคาก็ขึ้นๆลงๆไปตามกลไกตลาด แต่ละวันไม่เหมือนกัน"นอกจากแม่แบบด้านการเกษตร ยังมี...กังหันลมผลิตไฟฟ้า ตามนโยบายรัฐบาลที่ใช้พลังงานทดแทน ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 5 กิโลวัตต์ต่อต้น ปัจจุบันมีทั้งหมด 20 ต้น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จะดำเนินการเข้ามารับซื้อพลังงานสะอาดที่ได้นี้ต่อไปไฟฟ้าพลังงานสะอาดไม่ได้ใช้หมุนเวียนในไร่ ผลิตได้เท่าไหร่ จะเอาไปหักลบกับพลังงานที่ใช้...ทุกเดือนจะมีเงินเหลือ การไฟฟ้าฯตีเช็คกลับคืนมา 3-4 ครั้งแล้วพื้นที่ทั้งหมดโครงการชั่งหัวมัน 250 ไร่ วันนี้ถึงจะยังไม่ถูกพัฒนาเต็มทั้งหมดทุกจุด แต่ในภาพรวมโครงการก็กำลังเดินหน้าต่อไปเรื่อยๆอย่างเป็นรูปธรรม แค่เพียงไม่กี่เดือน ชั่งหัวมันยังเขียวขจีได้ขนาดนี้...หากผ่านไปเป็นปี หลายปี...พื้นที่ที่เคยแห้งแล้งทุรกันดารผืนนี้ คงจะกลายเป็นแหล่งเพาะปลูกชั้นยอด ขึ้นชื่ออันดับหนึ่ง ณ บ้านหนองคอกไก่ ต.เขากระปุก อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี.
ไทยรัฐออนไลน์
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์
6 กุมภาพันธ์ 2553, 05:00 น.
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น